KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิ วิปัสนูกิเลส เป็นอย่างไร
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วิปัสนูกิเลส เป็นอย่างไร  (อ่าน 15791 ครั้ง)
DOUNGCHAN
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 8


ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2010, 03:40:11 PM »

    สงสัยจะโดน วิปัสนูกิเลส เข้าแล้ว
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2010, 03:03:15 PM »

วิปัสสนูปกิเลส 10 อย่าง...  ที่เกิดจากมิจฉาสมาธิ....

        การทำสมาธิ  ถ้าไม่ได้ศึกษาให้ดีจะเกิดความหลงผิดได้ง่าย  ถ้าทำสมาธิตามปกติธรรมดา ไม่ให้มีความอยากก็จะไม่มีปัญหาอะไร  
ถ้าทำด้วยความอยากอย่างนั้น อยากอย่างนี้ ด้วยความจริงจังเมื่อไร  ก็จะเกิดปัญหาทำให้เกิดเป็นวิปัสสนูปกิเลส 10 อย่างขึ้นมา    
ผู้ภาวนาไม่มีการศึกษาเอาไว้ จะไม่รู้เลยว่าการภาวนาของตัวเองผิดไป จะมีความตั้งใจที่จริงจังหวังผลให้เกิดขึ้นอย่างเต็มที่
นี้เกิดจาก มิจฉาทิฎฐิ ความเห็นผิดที่ไม่ได้แก้ไข  จึงได้เกิดเป็นมิจฉาสมาธิ ความตั้งใจมั่นที่ผิด
จึงกลายเป็น วิปัสสนูปกิเลส   จึงเป็นกิเลสปิดกั้นไม่ให้ถึงซึ่งมรรคผลนิพพาน
จะมีความเพียรอย่างไรก็จะกลายเป็นความเพียรผิดอย่างต่อเนื่อง มีสติก็ระลึกทางที่ผิดเรื่อยไป
จะทำสมาธิก็จะเป็นมิจฉาสมาธิความตั้งใจไว้ ผิดเป็นนิสัย ถ้าเป็นลักษณะนี้จะไม่รู้ตัวเองแต่อย่างใดว่าตัวเองผิดหรือไม่
จะมีความมั่นใจว่าการภาวนาของตนมีแต่ความถูกต้องทั้งหมด

1. โอภาส
        เมื่อจิตมีความสงบในสมาธิแล้ว จะเกิดแสงสว่าง

2.  ปิติ
                เมื่อจิตมีความสงบในสมาธิแล้ว จะเกิดความเพลิดเพลินเอิบอิ่มใจขณะนั้น

3.  ปัสสัทธิ  
        มีความสงบกายสงัดใจเป็นอย่างมาก มีความสงบ เยือกเย็น
ไม่มีความร้อนหนาว ไปตามดินฟ้าอากาศ  แต่อย่างใด มีแต่ความสงบกายสงัดใจ
อยู่ตลอดเวลา  ไม่มีอารมณ์ให้เกิดความเร่าร้อนทุกข์ใจแต่อย่างใด  จะยืน เดิน นั่ง
นอน อยู่ที่ไหนก็มีความสงบกายสงัด  ใจอยู่ที่นั่นไม่มีความรักความชังกับสิ่งใดๆ  เหมือน
กับกิเลสตัณหา ได้หมดไปจากใจ  ไม่มีอะไรจะให้เกิด ความเศร้าหมองขุ่นมัว
จะมีความพอใจยินดีอยู่ใน ลักษณะนี้อยู่ตลอดเวลา

4.  สุขะ        
        จะมีความสุขกายมีความสุขใจเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีความสุข  ใดในโลกนี้
จะเสมอเหมือน จะ ยืน เดิน นั่ง นอน ในที่  ไหน  ก็มีแต่ความสุขอยู่ตลอดเวลา
ชีวิตที่เกิดมาเพิ่ง ได้พบได้เห็น ความยินดีพอใจในความสุขนี้  แทบจะตะโกนให้คนอื่น
ได้รับรู้ด้วย  อยากให้ความสุขนี้มีอยู่ กับตัวเองตลอดไป(กิเลส)  ไม่อยากให้ความสุขนี้ได้
เสื่อมคลายสลายไป จะอยู่จะไปในที่ไหน ใจจะมีความเพลิดเพลินอยู่ในสุขนี้ จะกินอยู่หลับ
นอนในที่ไหน  ใจจะมีความสุขอยู่ในความสงบนี้อย่างฝังใจทีเดียว

5.  ญาณะ    
        มีญาณรู้เกิดขึ้นที่ใจ ในบางครั้งความรู้เกิดขึ้นทางโลก  บางครั้งความรู้
เกิดขึ้นทางธรรม อยากรู้ในธรรมข้อไหน หมวดใดกำหนดถามใจก็จะได้คำตอบขึ้นมา
ทันที อยากรู้   ในทางโลกอย่างไร กำหนดถามใจก็จะได้เช่นนั้น  ในบาง  ครั้งจะมีญาณ
รู้เกิดขึ้นมาเอง ว่าจะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่าง      นั้นอย่างนี้ไป  บางทีก็รู้เป็นเรื่องอดีต
บางทีก็รู้เป็นเรื่อง   ในปัจจุบัน บางทีก็รู้เป็นเรื่องของอนาคต บางทีก็รู้ใน เรื่องของตัวเอง
และเรื่องของคนอื่น อยากรู้เรื่องอะไร    กำหนดถามใจจะรู้ได้ทันที

 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 30, 2010, 03:10:06 PM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2010, 03:16:42 PM »


6.  อธิโมกข์  
        น้อมใจเชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องจริง  เชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นแนวทางที่ถูกต้อง
เป็นแนวทางที่จะให้ถึงซึ่งมรรคผลนิพพานเป็นความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมาทีเดียว 
โดยเฉพาะมีความเชื่อจากความรู้ที่เกิดขึ้นว่าเป็นของจริงไปเสียทั้งหมด
ใครจะมาพูดว่าผิดก็จะโต้แย้ง ว่าตัวเองถูกตลอดไป  จึงได้เกิดเป็นทิฎฐิมานะ
เชื่อในความรู้ของตัวเองอย่างฝังใจเชื่อมั่นในการปฏิบัติของตัวเอง

7.  ปัคคาหะ  
        มีความเพียรอย่างโดดเด่นเข้มแข็งมาก จะเดินจงกรมจะนั่งสมาธิ
จะมีความขยัน หมั่นเพียรเป็นอย่างมากทีเดียว เป็นผู้ที่มีความตั้งใจที่จริงจังในการ
ปฏิบัติธรรม จะยืน เดิน นั่ง นอน จะปรารภ ความเพียรอยู่ตลอดเวลา
มีความขยันอดทนเพื่อมรรคผล นิพพานอย่างแน่วแน่ทีเดียว จะอยู่ที่ไหน ไปในที่ใด
จะไม่ลดละในความเพียรนี้อย่างเด็ดขาด ความเพียรในที่นี้หมายถึงทำใจให้เป็นสมาธิอยู่
อยู่ทุกลมหายใจ ไม่หวั่นไหวไม่สนใจกับสิ่งใดๆ ขอให้มีความเพียรตลอดทั้งคืนวันได้ยิ่งดี

8.  อุปัฎฐาน 
        มีสติระลึกได้อย่างชัดเจนมาก จะเหยียดแขนคู้แขนมองหน้าเหลียวหลัง
มีสติระลึกได้อยู่ตลอดเวลา การนึกคำบริกรรม  ทำสมาธิจะมีสติระลึกได้ไม่ให้เผลอ
กำหนดลมหายใจเข้าออก ก็มีสติระลึกได้เท่าทันกับลมหายใจเข้าออก
ลมหายใจเข้าออกสั้น ยาวก็มีสติ ระลึกรู้ได้อยู่ตลอดเวลา  ความเคลื่อนไหวในร่างกาย
ทุกส่วนคำพูดออกมาแต่ละประโยต มีสติระลึกได้เป็นอย่างดี จิตมีความนึกคิด
ในเรื่องอะไรคิดในทางโลกและทางธรรม คิดเรื่องส่วนตัว หรือเรื่องผู้อื่นมีสติระลึกรู้
ได้อยู่เสมอ  แม้จะมีสติระลึกได้เท่าทันในการปฏิบัติอยู่ก็ตาม ถ้าฐานเดิมยังเป็น
มิจฉาทิฎฐิ ความเห็นผิดอยู่ ก็จะ เป็นวิปัสสนูปกิเลสต่อไป

9.  อุเบกขา
         ความวางเฉย ภายใจใจจะมีความเป็นกลางได้เป็นอย่างดีไม่ว่าสิ่ง
ใดมากระทบทาง อาตยนะ จะไม่ยินดียินร้ายในสิ่งนั้น ๆ ไม่มีความรักความชังกับใคร
และสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น จะอยู่ใน อิริยาบถใดใจจะวางเฉยได้ตลอดทั้งคืนวัน
จะมีคนพูดยกยอสรรเสริญ หรือกล่าวร้ายอย่างไร ใจก็เพียงรับรู้ ไม่ได้ฟูไปตาม
อารมณ์ในคำพูดดี และชั่วแต่อย่างใด ใจไม่กำเริบในราคะตัณหา ไม่มีแนวความคิดพิจารณา
ด้วยปัญญาอะไรเลย จะอยู่คนเดียวเงียบๆ ไม่ชอบพูดคุยกับใครๆ ใจก็จะวางเฉย
ต่อสิ่งทั้งหลายนี้ไป

10  นิกันติ
         จะเกิดความพอใจยินดีในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด  สิ่งที่เกิดขึ้นจากการ
เป็นไปในข้อ 1 - 9 จะมีความภาคภูมิใจในผลการปฏิบัติของตัวเองเป็นคนที่มีความ
เชื่อมั่นสูงมาก  มีความยินดีพอใจในลักษณะนี้เป็นอย่างมาก จึงได้เกิดความคิดว่า
เป็นของจริง มีความเชื่อถือว่าเป็นแนวทางที่ตรงต่อมรรคผลนิพพานอย่างมั่นใจ
จะมอบกายถวายชีวิตอุทิศตัวในการปฏิบัติอย่างนี้ไปจนชีวิตจะหาไม่

 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2010, 03:35:03 PM »

 วิปัสสนูปกิเลส โดยย่อ พระอาจารย์ทูล ขิปปฺปญฺโญ วัดป่าบ้านค้อ ต.เขือน้ำอ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 
 ผมอ่านของท่านแล้วเข้าใจแจ่มแจ้งดีเลยตัดมาให้ทราบและพิจารณากันครับ
วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่างนี้อยู่ในหนังสือที่ท่านเขียนเรื่อง สัมมาทิฏฐิ ครับ
เริ่มให้ถูกครับจะได้ไม่เนิ่นช้า....

วิปัสสนา  ต้องพิจารณาในสัจธรรมจนเกิดความรู้เห็นตามความเป็นจริง มีความละเอียด แยบคายและหายสงสัยในสัจธรรมจึงเรียกว่า วิปัสสนาญาณ

เป็นญาณที่รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงทำให้ใจเกิด นิพพิทาเบื่อหน่าย คลายจากความกำหนัดยินดีพิจารณาเป็นไตรลักษณ์
มีการละถอนปล่อยวางไปได้ก็จะเกิดผลเป็นปฏิเวธไม่ใช่จะคอยให้ปัญญาเกิดจากสมาธิความสงบตามความเข้าใจ

เจ้าวิปัสสนูปกิเลสนี้ มีอิทธิพลและอำนาจ จะทำให้เกิดความน้อมใจเชื่ออย่างรุนแรง โดยไม่รู้เท่าทันว่าเป็นการสำคัญผิด ซึ่งการสำคัญผิดอย่างสนิทสนมแบบแนบเนียน และเกิดความภูมิใจในตัวเองอย่างเงียบๆ บางคนถึงกับสำคัญตนว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งด้วยซ้ำ บางรายสำคัญผิดอย่างมีจิตกำเริบยโสโอหัง ถึงขนาดที่เรียกกันว่า เป็นบ้าวิกลจริตก็มี
อย่างไรก็ตาม วิปัสสนูปกิเลส ไม่ได้เป็นการวิกลจริต แม้บางครั้งจะมีอาการคลัายคลึงคนบ้าก็ตาม แต่คงเป็นเพียงสติวิกล อันเนื่องมาจากการมีจิตตั้งมั่นอยู่กับอารมณ์ภายนอก แล้วสติตามควบคุมไม่ทัน ไม่ได้สัดส่วนกันเท่านั้นถ้าตั้งสติไว้ได้สัดส่วนกัน จิตก็จะสงบเป็นสมาธิลึกลงไปอีก โดยยังคงมีสิ่งอันเป็นภายนอกเป็นอารมณ์อยู่นั่นเอง
เช่นเดียวกับการฝึกสมาธิของพวงฤาษีชีไพร ที่ใช้วิธีเพ่งกสิน เพื่อให้เกิดสมาธิ ในขณะแห่งสมาธิเช่นนี้ เราเรียกอารมณ์นั้นว่า ปฏิภาคนิมิต และเมื่อเพิกอารมณ์นั้นออก โดยการย้อนกลับไปสู่ “ผู้เห็นนิมิต” นั้น นั่นคือย้อนสู่ต้นตอ คือ จิต นั้นเอง
จิตก็จะบรรลุถึงสมาธิขั้นอัปปนาสมาธิ อันเป็นสมาธิจิตขั้นสูงสุดได้ทันที
ในทางปฏิบัติที่มั่นคงและปลอดภัยนั้น หลวงปู่ดุลย์ ท่านแนะนำว่า “การปฏิบัติแบบจิตเห็นจิต เป็นแนวทางปฏิบัติที่ลัดสั้น และบรรลุเป้าหมายได้ฉับพลัน"
ก้าวล่วงภยันตรายได้สิ้นเชิง ทันทีที่กำหนดจิตใจให้ถูกต้อง แม้เพียงเริ่มต้นผู้ปฏิบัติก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยครูบาอาจารย์อีก

เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับทุกท่าน...


 
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 26, 2010, 01:26:51 PM »

วิปัสนู ก็แค่ติดว่า ตัวกู ของกู นั่นแหละ


เป็นไปตามอำนาจของโมหะ

แค่รู้..ไม่ทะยานไปตามอารมณ์ นั้นๆ(ถ้าตามไปทางจิต ก็สร้างภพชาติทางนามธรรม ถ้าไปทางกาย-วาจาก็ไปตามรูปธรรม)

เดี๋ยวมันก็ดับไป เกิด แล้วก็ดับทั้งหมด

เปลี่ยนอิริยาบถไปทำอย่างอื่นให้หายเครียด..ซะ(เน้นว่าเป็นประโยชน์ต่อตนและผู้อื่น)


นี่คืออาการของจิตที่ซนไปตามเจตสิก 5 5 5 ยิงฟันยิ้ม(ลืมโลโก้ ต้องก๊อปมาวางใหม่เชียวนะ)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: