Dhamma in the behalf of Luangpor Pramote Pramotecho , SuanSandhitham
คอลัมน์ "ไม่ได้ไปสวนสันติธรรมก็เรียนกับหลวงพ่อได้นะ"
April 29,2016
“…พวกกิเลสทั้งหลายจะพุ่งขึ้นกลางอกเรานะ ในตำราบอกว่ากิเลสมันขึ้นจากหทัยวัตถุ บางคนก็ว่าหทัยวัตถุอยู่ที่หัวใจ แต่นักปฎิบัติจะเห็นว่านามธรรมหรือความรู้สึกผุดขึ้นตรงไหน ตรงนั้นแหละคือนิยามของหทัยวัตถุ จริงๆ แล้วมันก็ไมได้อยู่ตรงหัวใจหรอก เราดูจากของจริงเอา ความรู้สึกต่างๆ ของเรามันผุดขึ้นมาจากกลางอกนะ มีวิธีดูคือ อย่าไปจ้องไว้ก่อนรอให้ความรู้สึกเกิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้เอา คอยตามรู้เอา
การดูจิตดูใจนี่จะต้องตามรู้ ให้ความรู้สึกเกิดก่อน แล้วก็ค่อยรู้
หัดใหม่ๆ จะรู้อารมณ์หยาบๆ ก่อน เช่น ความโกรธผุดขึ้นมาเราจะรู้สึก ออ่อ โกรธแล้ว ถ้าโกรธแรงนี่เลือดขึ้นหน้าเลย หน้าแดง หน้าร้อน ตาโปน พุ่งขึ้นมากระทบถึงร้างกาย หัดใหม่ๆ ก็จะเห็นของหยาบ เช่นความโกรธแรงๆ หัดดูหัดดูทุกวันๆ ต่อไปขัดใจเล็กๆ เกิดขึ้น สติก็ระลึกได้ จะเห็นได้ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ”
ต่อไปถ้าละเอียดถึงที่สุดจะเห็นความหลง ความหลงก็คือจิตเราหลงไป ลืมกายลืมใจตัวเอง ในโลกนี้มีแต่คนหลงนะ ในโลกนี้ไมมีคนรู้สึกตัวหรอก นี่เราพูดอย่างนักปฎิบัติพูดนะ ไมได้พูดเถียงกันเล่นๆ จิตใจของคนเราแต่ละคนหลงตลอดเวลา กระทั้งคนทีบอกว่ารู้สึกตัว ก็ไม่รู้สึกจริงหรอก ถึงรู้สึกตัวก็รู้สึกด้วยสติธรรมดาเท่านั้น ไม่ได้รู้สึกอย่างมีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ หรือมีสัมปชัญญะกำกับ ฉะนั้นจะต้องค่อยๆ เรียนนะ เมื่อสติตัวจริงเกิด จิตจะตื่นขึ้นมาชัวขณะ
ความหลงเราก็ต้องเรียน ความหลงคือการที่เราลืมกายลืมใจ สังเกตุไหม เราลืมกายลืมใจตังเองทั้งวันเลยนะ คนทั่วๆไป พอตื่นนอนก็ลืมกายลืมใจตัวเองแล้ว คิดไปเรื่องโน้นเรื่องนี้แล้ว รู้เรื่องที่คิดนะ แต่ลืมกายลืมใจตัวเอง รู้เรื่องที่คิดแล้วลืมกายลืมใจ ก็เรียกว่าหลงเหมือนกัน ถ้าไปคิดเรื่องที่เป็นกุศล ก็เป็นการปลุงแต่ง ฝ่ายกุศลขึ้นมา ก็จะได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับมรรคผลนิพาน อยากได้มรรคผลนิพพานต้องเห็นกายเห็นใจ เห็นสภาวะจริงๆ ”
นาทีทองในสังสารวัฎเล่ม๑ หน้า ๑๐๕
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<
“Sometimes when we fall sick, we are aware of physical suffering for longer periods of time. For example, when we have a toothache continuously for days, if we closely monitor the pain we will discover that the discomfort arises from somewhere between the tooth and gum. Though both the tooth and gum do not suffer. The body is like a robot, it is not in pain and yet the discomfort is there.
The body does not feel happy, unhappy or indifferent. Though these feelings arise from somewhere within. Moreover, these feelings are being observed the same way as the body itself.
And when we study more deeply we can see that as suffering arises, the mind becomes agitated and unhappy. Some examples are: when we are hungry, we get upset more easily; when we are tired, we get angry more easily; when we have fever, we get agitated more easily; and when our desires are not met, we get irritated more easily. We can be aware of the anger that arises when faced with suffering.
On the other hand, when we see beautiful sights, hear pleasing sounds, smell pleasant fragrances, taste delicious flavors, feel a soft touch or a comfortable temperature – not too hot and not too cold – or think of pleasant thoughts, we will feel liking and satisfaction with such sights, sounds, fragrances, tastes, touches and thoughts. Once we are aware of pleasant and unpleasant feelings as they arise, we can similarly become aware of other feelings such as doubtfulness, vengeance, depression, jealousy, disdain, cheerfulness and tranquility of mind as well...”
The-Path-to-Enlightenment-I (Page
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<
http://www.dhamma.com/en/ and
http://www.trisikkhameditationcenter.org/