KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทุกอย่าง เกี่ยวกับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประวัติของพระพุทธสาวก สมัยพุทธกาลพระอุทายีเถระ
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: พระอุทายีเถระ  (อ่าน 13079 ครั้ง)
samarn
Global Moderator
กัลยาณมิตร ลำดับที่ 2
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 7
กระทู้: 215


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2008, 03:39:56 PM »

   ท่านพระอุทายี มีชาติภูมิที่ไหน มารดาบิดาชื่ออะไร และเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาเมื่อไร ที่ไหน อยู่ในสำนักของใคร ยังไม่มีหลักฐานปรากฏชัด นอกจากเรื่องราวของท่านที่มีอยู่ในปกรณ์ต่าง ๆ ก็ กล่าวถึงเฉพาะเรื่องที่ท่านได้อุปสมบทแล้ว ซึ่งปรากฏอยู่ในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย หน้า ๒๐๔ มีเนื้อความว่า ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ที่โฆสิตาราม ในพระนครโกสัมพี

     ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีกำลังนั่งแสดงธรรมแก่บริษัทอยู่จำนวนมาก ซึ่งได้นั่งแวดล้อมท่านอยู่ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านแสดงธรรมอยู่เช่นนั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ดูกรอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นมิใช่เป็นเรื่องที่ทำได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นผู้แสดงธรรมจะต้องมีธรรมประจำใจ ๕ ประการ คือ
ตั้งใจว่า เราจักแสดงธรรมไปโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ ๑
เราจักแสดงธรรมชี้แจงอ้างเหตุผลให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น ๑
เราจักตั้งจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง ๑
เราจักไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภสักการะ ๑
และเราจักไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น ๑

     เรื่องนี้เป็นการชี้ให้เห็นว่า ท่านพระอุทายีแสดงธรรมแก่พุทธบริษัทหมู่ใหญ่เช่นนั้น ท่านก็ต้องตั้งอยู่ในธรรมทั้ง ๕ ประการนั้นด้วย ธรรมเทศนาของท่านจึงเป็นที่ชอบใจของพุทธบริษัท นับได้ว่า ท่านเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดสามารถแสดงธรรมได้เป็นอย่างดี

     เมื่อท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยกาลอันสมควรแล้ว ก็ได้ดับขันธปรินิพพาน พระเถระที่มีชื่อลงท้ายว่าอุทายีนั้นมีหลายรูป คือ กาฬุทายี ๑ โลลุทายี ๑ มหาอุทายี ๑ ท่านพระอุทายี ก็คือ ท่านพระมหาอุทายีนั่นเอง แต่เมื่อดูที่มาเพียงในพระบาลีแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้สงสัย และเข้าใจได้ยาก เพราะศัพท์บาลี่ท่านวางไว้ว่า อายสฺมา อุทายิ แปลว่า ท่านพระอุทายี คำนี้หมายเอาพระอุทายีองค์อื่นก็มี เช่นในมหาวิภังค์ ตอนว่าด้วยสังฆาทิเสส ๕ สิกขาบทข้างต้นนั้น ท่านก็วางศัพท์บาลีไว้ว่า อายสฺมา อุทายิ แต่ในอรรถกถาท่านแก้เป็นพระโลลุทายี พระโลลุทายีและพระมหาอุทายีสององค์นี้ มีเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้น่าสงสัยว่าจะเป็นองค์เดียวกัน ในอสีติมหาสาวกนิพพาน ท่านได้กล่าวถึงพระมหาสมณเจ้า ฯ ท่านจัดไว้ในพุทธานุพุทธประวัตินั้น ไม่ได้จัดท่านพระโลลุทายีเข้าด้วย ทรงจัดเอาพระมหาอุทายีเข้าไว้ในจำนวน ๘ องค์ เรื่องพระสาวกสององค์นี้ข้าพเจ้าได้ เคยสอบถามกับท่านผู้รู้มามากแล้ว แต่ก็ได้รับคำอธิบาย ที่ยังไม่น่าพอใจเท่าที่ควร ยังมีความเคลือบแคลงสงสัยอยู่ นอกเสียจากจะได้ค้นพบประวัติเดิมของท่านทั้งสององค์เสียก่อน เรื่องนี้ ขอให้นักธรรมวินัยช่วยกันวิจารณ์ด้วย เพื่อให้ความกระจ่าง เมื่อท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยกาลอันสมควรแล้ว ก็ได้ดับขันธปรินิพพาน พระเถระที่มีชื่อลงท้ายว่าอุทายีนั้นมีหลายรูป คือ กาฬุทายี ๑ โลลุทายี ๑ มหาอุทายี ๑ ท่านพระอุทายี ก็คือ ท่านพระมหาอุทายีนั่นเอง แต่เมื่อดูที่มาเพียงในพระบาลีแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้สงสัย และเข้าใจได้ยาก เพราะศัพท์บาลี่ท่านวางไว้ว่า อายสฺมา อุทายิ แปลว่า ท่านพระอุทายี คำนี้หมายเอาพระอุทายีองค์อื่นก็มี เช่นในมหาวิภังค์ ตอนว่าด้วยสังฆาทิเสส ๕ สิกขาบทข้างต้นนั้น ท่านก็วางศัพท์บาลีไว้ว่า อายสฺมา อุทายิ แต่ในอรรถกถาท่านแก้เป็นพระโลลุทายี พระโลลุทายีและพระมหาอุทายีสององค์นี้ มีเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้น่าสงสัยว่าจะเป็นองค์เดียวกัน ในอสีติมหาสาวกนิพพาน ท่านได้กล่าวถึงพระมหาสมณเจ้า ฯ ท่านจัดไว้ในพุทธานุพุทธประวัตินั้น ไม่ได้จัดท่านพระโลลุทายีเข้าด้วย ทรงจัดเอาพระมหาอุทายีเข้าไว้ในจำนวน ๘ องค์ เรื่องพระสาวกสององค์นี้ข้าพเจ้าได้ เคยสอบถามกับท่านผู้รู้มามากแล้ว แต่ก็ได้รับคำอธิบาย ที่ยังไม่น่าพอใจเท่าที่ควร ยังมีความเคลือบแคลงสงสัยอยู่ นอกเสียจากจะได้ค้นพบประวัติเดิมของท่านทั้งสององค์เสียก่อน เรื่องนี้ ขอให้นักธรรมวินัยช่วยกันวิจารณ์ด้วย เพื่อให้ความกระจ่างแจ้งแก่อนุชนรุ่นหลังต่อไป.แจ้งแก่อนุชนรุ่นหลังต่อไป

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: