KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ทางแห่งพระนิพพาน เดินไปอย่างไร มีวิธีปฏิบัติอย่างไรวิปัสสนา ต่างจาก สมถกรรมฐาน อย่างไร
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วิปัสสนา ต่างจาก สมถกรรมฐาน อย่างไร  (อ่าน 56963 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 02:50:37 PM »

วิปัสสนาภาวนา

 

ความสำคัญของการเจริญภาวนา

 เมื่อครั้งที่พระพุทธยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ มีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา พระองค์เสด็จออกประพาสพระนคร ขณะที่กำลังเพลิดเพลินอยู่นั้นพระองค์ได้พบกับสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนใน ชีวิต นั่นคือคนแก่คร่ำคร่า คนเจ็บทรมาน และคนตาย ทำให้พระองค์ทรงหวั่นวิตกว่า  ? อีกไม่นานเราเองก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายอย่างนี้เหมือนกัน ทำอย่างไรหนอเราจะรอดพ้นจากสิ่งเหล่านี้ได้? เมื่อมีร้อนก็มีหนาวแก้ เมื่อมีมืดก็มีสว่างแก้ เมื่อมีความแก่ความเจ็บและความตาย ก็ต้องมีวิธีแก้อย่างแน่นอน? จากนั้นพระองค์จึงตัดสินพระทัยทิ้งราชสมบัติ ทิ้งกองเงินกองทองออกจากพระราชวังไปอยู่กลางป่า[1] เพื่อค้นหาหนทางนั้น  ในที่สุดก็ทรงค้นพบ นั่นคือการเจริญภาวนา

 

 

การเจริญภาวนา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ?กรรมฐาน? เป็นศาสตร์หนึ่งที่มีอยู่ในจักรวาลเหมือนกับศาสตร์อื่น ๆ อย่างเช่น  ฟิสิกส์  คณิตศาสตร์  ต่างกันแต่ศาสตร์นี้ต้องวิจัยในห้องแลปคือจิตล้วน ๆ และมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่ความหลุดพ้นจากทุกทั้งปวง  ศาสตร์นี้เป็นกลไกที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่ยากที่มนุษย์จะเข้าถึงได้  สิ่งที่สามารถเข้าถึงและแทงตลอดกฎเกณฑ์นี้ได้มีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นั่นก็คือจิตที่ทรงพลานุภาพมหาศาล  ซึ่งตามธรรมดาแล้วมนุษย์ล้วนมีจิตกันทุกคน แต่จิตธรรมดาจะกลายเป็นจิตที่ทรงพลานุภาพได้นั้นต้องอาศัยการบ่มเพาะเป็นเวลานาน   คัมภีร์อรรถกถาบอกว่าต้องใช้เวลาถึง ๔ อสงไขยกับแสนกัปเลยทีเดียว[2]    ด้วยเหตุนี้เอง นาน ๆ จึงจะมีดวงจิตที่ทรงพลานุภาพมาปฏิสนธิสักครั้งหนึ่ง โลกใบนี้อุบัติมาแล้วประมาณ ๔,๖๐๐ ล้านปีซึ่งเป็นเวลาที่ยาวนานมาก  แต่ดวงจิตที่ทรงพลานุภาพมาปฏิสนธิแค่เพียง ๔ ครั้งเท่านั้น[3]   ครั้งสุดท้ายมาปฏิสนธิ เมื่อประมาณ ๒,๖๐๐ ปีก่อนนี้เอง ผู้นั้นเราเรียกกันว่า ?พระสัมมาสัมพุทธเจ้า?

เรื่องการเจริญภาวนาหรือปฏิบัติกรรมฐานนี้ มนุษย์ทั่วโลกได้พยายามค้นคว้าและเข้าถึงมานานแล้ว แต่เนื่องด้วยสั่งสมบุญบารมีมาไม่เพียงพอจึงเข้าถึงได้เพียงบางส่วน   คนกลุ่มนั้นก็คือพวกฤษีและศาสดาต่าง ๆ พวกท่านสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้  มีฤทธิ์เดชมากมาย  แต่ก็ยังไม่สามารถกำจัดกิเลสในจิตให้หมดสิ้นไปได้[4] ยังมีความโลภ โกรธ เกลียดอยู่  ท่านเหล่านี้เข้าถึงได้เพียงแค่ระดับฌานสมาบัติเท่านั้น ยังไม่สามารถเข้าถึงวิปัสสนาปัญญา บรรลุมรรค ผล นิพพานได้[5]

หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช พระองค์ได้ไปศึกษาศาสตร์นี้จากสำนักฤษีต่าง ๆ ที่ มีอยู่ในสมัยนั้นจนหมดความรู้อาจารย์ แต่เมื่อออกจากสมาธิกิเลสตัณหาก็ยังมีอยู่ ยังมีความกลัวความกังวลอยู่ พระองค์จึงตัดสินพระทัยศึกษาค้นคว้าหาวิธีดับทุกข์ด้วยพระองค์เองด้วยการ เจริญวิปัสสนาภาวนา[6]

         

การเจริญภาวนา  ๒ แบบ

การเจริญภาวนา หรือการปฏิบัติกัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนา มีอยู่  ๒  ประการ

๑.   สมถภาวนา(Development of Tranguility)หรือ สมถกรรมฐาน (Concentration Meditation)   คือการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ  ได้แก่ หลักหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบทางจิตใจ หรือการทำจิตใจให้เป็นสมาธิความมั่นคงนั่นเอง[7]

๒. วิปัสสนาภาวนา (Development of Insight) หรือ วิปัสสนากรรมฐาน (Insight Meditation)  คือ การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามความเป็นจริง[8] ได้แก่ หลักหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามความเป็นจริงในรูปนาม ขันธ์ ๕ ว่า เป็นสภาวะที่ไม่เที่ยง(อนิจจัง) เป็นทุกข์ ทนได้ยาก (ทุกขัง) เป็นสภาวะที่ไม่ใช่บุคคล ตัวตน เราเขา บังคับบัญชาไม่ได้ (อนัตตา) เรียกว่า วิปัสสนา[9]

ความเข้าใจของผู้ปฏิบัติหลายท่าน คิดว่า   ?การปฏิบัติสมถภาวนาดีกว่าวิปัสสนาภาวนา เพราะสมถฝึกแล้วทำให้เหาะได้  รู้ใจคนอื่นได้  เสกมนต์คาถาอาคมได้  ส่วนวิปัสสนาล้วน ๆ ทำไม่ได้?  แต่ถึงอย่างไรก็ตาม   ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานก็ยังเป็นเพียงปุถุชนที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภูมิ หาที่สุดของภพชาติไม่ได้   ยังต้องตกอบาย ทรมานในนรกอีกนับชาติไม่ถ้วน      ส่วนผู้ปฏิบัติวิปัสสนานั้น  ถึงแม้จะเหาะไม่ได้  เสกคาถาไม่ขลัง   แต่ก็เหลือภพชาติเพียงแค่ ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง และตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไปก็จะไม่ตกอบายอีกเลย   ไม่ว่าในอดีตจะเคยทำบาปอกุศลไว้มากมายปานใดก็ตาม

ผลจากสมถะไม่ว่าจะเป็นฌานสมาบัติหรืออภิญญาก็ตาม ยังเป็นเพียงโลกีย์[10] เป็นของปุถุชน เสื่อมถอยได้  เช่น ฤทธิ์ที่พระเทวทัตได้[11] เจโตวิมุตติของพระโคธิกะ[12]  และฌานสมาบัติของพระภิกษุสามเณร ฤาษีและคฤหัสถ์  บางท่านที่มีเรื่องเล่าต่อกันมาในคัมภีร์ต่างๆ เป็นของมีมาก่อนพุทธกาล   เช่น   อาฬารดาบสกาลามโคตรได้ถึงอรูปฌานที่ ๓  อุททกดาบสรามบุตร[13]ได้ถึงอรูปฌานที่ ๔เป็นต้น[14] เป็นของมีได้ในลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนา  มิใช่จุดหมายของพระพุทธศาสนา   เพราะไม่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ได้อย่างแท้จริง    นักบวชบางลัทธิทำสมาธิจนได้ฌาน ๔   แต่ยังมีมิจฉาทิฏฐิเกี่ยวกับเรื่องอัตตาและยึดถือในฌานนั้นว่าเป็นนิพพาน ก็มี[15]    ลัทธิเช่นนี้พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ

 ผลที่ต้องการจากสมถะตามหลักพุทธศาสนา คือการสร้างสมาธิเพื่อใช้เป็นบาทฐานวิปัสสนา จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาสำเร็จด้วยวิปัสสนา  คือการฝึกอบรมปัญญาที่มีสมาธินั้นเป็นบาทฐาน   หาก บรรลุจุดหมายสูงสุดด้วยและยังได้ผลพิเศษแห่งสมถะด้วย ก็จัดว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติพิเศษได้รับการยกย่องนับถืออย่างสูง แต่หากบรรลุจุดหมายแห่งวิปัสสนาอย่างเดียวไม่ได้ผลวิเศษแห่งสมถะ  ก็ยังเลิศกว่าได้ผลวิเศษแห่งสมถะคือได้ฌานสมาบัติและอภิญญา ๕  แต่ยังไม่พ้นจากอวิชชาและกิเลสต่าง ๆ   ไม่ต้องพูดถึงจุดหมายสูงสุด  แม้แต่เพียงขั้นสมาธิ  ท่านก็กล่าวว่า พระอนาคามีถึงแม้จะไม่ได้ฌานสมาบัติ   ไม่ได้อภิญญา   ก็ชื่อว่าเป็นผู้บำเพ็ญสมาธิบริบูรณ์[16]  เพราะสมาธิของพระอนาคามีผู้ไม่ได้ฌานสมาบัติ  ไม่ได้อภิญญานั้น แม้จะไม่ใช่สมาธิที่สูงวิเศษอะไรนักแต่ก็เป็นสมาธิที่สมบูรณ์ในตัวยั่งยืนคงระดับ มีพื้นฐานมั่นคง[17] เพราะไม่มีกิเลสที่จะทำให้เสื่อมถอยหรือรบกวนได้ ตรงข้ามกับสมาธิของผู้เจริญสมถะอย่างเดียวจนได้ฌานสมาบัติและอภิญญา แต่ไม่ได้เจริญวิปัสสนาไม่ได้บรรลุมรรคผล  แม้สมาธิ นั้นจะเป็นสมาธิขั้นสูงมีผลพิเศษ แต่ก็ขาดหลักประกันที่จะทำให้ยั่งยืนมั่นคง ผู้ได้สมาธิอย่างนี้ถ้ายังเป็นปุถุชนก็อาจถูกกิเลสครอบงำทำให้เสื่อมถอยได้

         

 

 

 

วิปัสสนาภาวนา

วิปัสสนา   แปลว่า   เห็นประจักษ์แจ้งพระไตรลักษณ์ในรูปที่เห็น   เสียงที่ได้ยิน  อาการที่เคลื่อนไหว ใจที่คิด เป็นต้น    เป็นวิธีการปฏิบัติที่จะนำกายและใจของผู้ปฏิบัติให้เข้าถึงสภาวดับ สงบเย็น(นิพพาน)ได้[18]   ถ้าต้องการสุขแท้ สุขถาวรที่ไม่กลับมาทุกข์อีกก็ต้องดำเนินไปตามหนทางนี้เท่านั้น ไม่มีทางอื่น[19] 

ความเข้าใจของผู้ปฏิบัติหลายท่าน    คิดว่า   ?การปฏิบัติสมถกรรมฐานดีกว่า   วิปัสสนากรรมฐาน เพราะสมถะฝึกแล้วทำให้เหาะได้  รู้ใจคนอื่นได้ เสกคาถาอาคม ได้   ส่วนวิปัสสนาทำไม่ได้?   แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานก็ยังเป็นเพียงปุถุชนที่ยับต้องเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภูมิ หาที่สุดของภพชาติไม่ได้   ยังต้องตกอบาย ทรมานในนรกอีก   ส่วนผู้ปฏิบัติวิปัสสนานั้น ถึงแม้จะเหาะไม่ได้  เสกคาถาไม่ขลัง      แต่เมื่อบรรลุได้เพียงขั้นโสดาบันเท่านั้น ก็จะเหลือภพชาติเพียง ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง   และตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไปจะไม่ตกอบายอีกเลย  ไม่ว่าในอดีตเคยทำบาปอกุศลไว้มากมายปานใดก็ตาม  จะไม่ตกนรกอีกแล้ว..

 

คัมภีร์พระอภิธัมมสังคณี ได้ให้ความหมายของวิปัสสนาไว้ว่า
               กตมา ตสฺมึ สมเย  วิปสฺสนา  โหติ  ยา  ตสฺมึ สมเย  ปญฺญา  ปชานานา   วิจโย   ปวิจโย  ธมฺมวิจโย สลฺลกฺขณา   อุปลกฺขณา   ปจฺจุปลกฺขณา   ปณฺฑิจฺจํ  โกสลฺลํ   เนปุญฺญํ   เวภพฺยา  จินฺตา    อุปปริกฺขา   ภูรีเมธา ปริณายิกา  วิปสฺสนา  สมฺปชญฺญํ   ปโตโท   ปญฺญา   ปญฺญินฺทฺริยํ   ปญฺญาพลํ   ปญฺญาสตฺถํ   ปญฺญาปาสาโท ปญฺญาอาโลโก  ปญฺญาโอภาโส   ปญฺญาปชฺโชโต  ปญฺญารตนํ  อโมโห   ธมฺมวิจโย  สมฺมาทิฏฐา   อยํ   ตสฺมึ สมเย  วิปสฺสนา  โหติ[20] ฯ
               วิปัสสนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน   คือ ปัญญา   กิริยาที่รู้ชัด   ความวิจัย ความเลือกสรร  ความวิจัยธรรม   ความกำหนดหมาย   ความเข้าไปกำหนด   ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้   ภาวะที่ฉลาด  ภาวะที่รู้ละเอียด  ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง  ความค้นคิด   ความใคร่ครวญ  ปัญญาเหมือนแผ่นดิน  ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส   ปัญญาเครื่องนำทาง   ความเห็นแจ้ง  ความรู้ดี ปัญญาเหมือนรัตนะ   ความไม่หลงงมงาย   ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฎฐิ  ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า วิปัสสนา  ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

 

            คัมภีร์อรรถกถา ให้ความหมาย ว่า วิปัสสนา    คือ   การเห็นแจ้ง หรือวิธีทำให้เกิดการเห็นแจ้ง  วจนัตถะว่า   อนิจฺจาทิวเสน  วิวิเธน  อากาเรหิ  ธมฺเม  ปสฺสตีติ  วิปสฺสนา[21]     

            ปัญญาใด  ย่อมเห็นสังขตธรรมมีขันธ์เป็นต้น ด้วยอาการต่างๆมีความไม่เที่ยงเป็นต้น ฉะนั้น ปัญญานั้น ชื่อว่า วิปัสสนา

คัมภีร์อรรถกถาให้ความหมายไว้ดังนี้

อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ให้ความหมายว่า ปัญญาที่กำหนดรู้สังขาร[22]

อรรถกถาอังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ให้ความหมายว่า การใคร่ครวญธรรม  หมายถึง การเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรมโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา[23] 

 คัมภีร์ฎีกาอธิบายอีกว่า วิปัสสนา  คือ  ความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง  เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง[24]

พระราชวรมุนี (ป.อ.ปยุตฺโต)ให้ความหมายว่า วิปัสสนา คือ  ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกฝนอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดสิ่งทั้งหลายตรงต่อสภาวะของมัน คือให้เข้าใจตามความเป็นจริง  หรือ ตามที่สิ่งเหล่านั้นมันเป็นของมันเอง (ไม่ใช่เห็นไปตามที่เราวาดภาพให้มันเป็นด้วยความชอบความชัง ความอยากได้ หรือ ความขัดใจของเรา) รู้แจ้งชัดเข้าใจจริง จนถอนความหลงผิดรู้ผิดและยึดติดในสิ่งทั้งหลายได้ ถึงขั้นเปลี่ยนท่าทีต่อโลกและชีวิตใหม่ทั้งท่าทีแห่งการมอง การรับรู้ การวางจิตใจและความรู้สึกทั้งหลาย ความรู้ความเข้าใจถูกต้องที่เกิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในระหว่างการปฏิบัตินั้น เรียกว่า ญาณ มีหลายระดับญาณสำคัญในขั้นสุดท้ายเรียกว่า วิชชา เป็นภาวะตรงข้ามที่กำจัดอวิชชา คือความหลงผิดไม่รู้แจ้งไม่รู้จริงให้หมดไป  ภาวะจิตที่มีญาณหรือวิชชานั้น  เป็นภาวะที่สุขสงบผ่องใสและเป็นอิสระ  เพราะลอยตัวพ้นจากอำนาจครอบงำของกิเลส  เช่น  ความชอบความชังความติดใจและความขัดใจเป็นต้นไม่ถูกบังคับหรือชักจูงโดยกิเลสเหล่า นั้น  ให้มองเห็นหรือรับรู้สิ่งต่าง ๆอย่างบิดเบือน  จนพาความคิดและการกระทำที่ติดตามมาให้หันเหเฉไปและไม่ต้องเจ็บปวดหรือเร่าร้อนเพราะถูกบีบคั้นหรือต่อสู้กับกิเลสเหล่านั้น  ญาณและวิชชา  จึงเป็นจุดมุ่งของวิปัสสนา เพราะนำไปสู่วิมุตติ คือความหลุดพ้นเป็นอิสระที่แท้จริงซึ่งยั่งยืนถาวร     ท่านเรียกว่า  สมุจเฉทนิโรธ   หรือสมุจเฉทวิมุตติ   แปลว่า  ดับกิเลส  หรือหลุดพ้นโดยเด็ดขาด[25]
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 02:51:52 PM »

 วิปัสสนา กับ สติปัฏฐาน ต่างกันอย่างไร?

อรรถกถากล่าวว่า การเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรมโดยความเป็นสภาวะไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  และเป็นอนัตตา ชื่อว่า วิปัสสนา

 ปัญญาใด  ย่อมเห็นสังขตธรรมมีขันธ์เป็นต้น ด้วยอาการต่างๆมีความไม่เที่ยงเป็นต้น ฉะนั้น ปัญญานั้น ชื่อว่า วิปัสสนา

 วิปัสสนา    คือ  การใคร่ครวญธรรม   หมายถึงการเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรม โดยความเป็นไตรลักษณ์  

 แต่ที่เราไม่เห็นนามรูปตามความเป็นจริงคือโดยความเป็นไตรลักษณ์ได้โดยง่ายนั้น  ก็เพราะว่ามีธรรม ๓ ประการ  เป็นเครื่องขวางกั้นไว้  คือ  ๑. สันตติ ปิดบังอนิจจัง  ๒. อิริยาบถ ปิดบังทุกข์    ๓. ฆนสัญญา ปิดบังอนัตตา

 วิธีทำลายเครื่องปิดบังไตรลักษ์ มีอยู่ทางเดียวเท่านั้น  คือปฏิบัติตามหลักและวิธีการของสติปัฏฐาน ๔  นอกจากนี้ไม่มีทางอื่นใดอีกเลย   สติ ปัฏฐาน ๔ เท่านั้นที่สามารถทำลายวิปลาส และทำให้เกิดวิปัสสนาปัญญา เห็นความจริงของรูปนามที่เป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้

ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ จึงสรุปความได้ว่า   วิปัสสนาและสติปัฏฐานเป็นสิ่งเดียวกันโดยความเป็นเหตุเป็นผลกับ  คือ  วิปัสสนาญาณจะมีขึ้นไม่ได้เลย ถ้าหากขาดกระบวนการพิจารณาธรรมตามแนวสติปัฏฐาน ๔

               อีกนัยหนึ่ง  วิปัสสนา   หมายถึง  เห็นตามเหตุ  ตามการณ์  ด้วยปัญญาตามความเป็นจริง  แต่ที่มนุษย์เห็นผิดไปจากความเป็นจริงนั้นก็เพราะวิปลาสธรรม ๓ ประการ คือ   ทิฏฐิ(ความเห็นผิด)  จิต(รู้ผิด)  และสัญญา(จำผิด)  องค์ธรรมของวิปลาสทั้ง ๓ ประการนี้มี ๔ คือ

         อัตตวิปลาส      สำคัญว่านามรูปนี้เป็นตัวตน

         สุขวิปลาส        สำคัญว่านามรูปนี้เป็นสุข

         สุภวิปลาส        สำคัญว่า นามรูปนี้สวยงาม

         นิจจวิปลาส      สำคัญว่า นามรูปนี้เที่ยง

         วิปลาส ธรรมนี้เกิดขึ้นเพราะไม่ได้กำหนดรู้ความจริงของนามรูป การที่จะละวิปลาสธรรมนี้ได้ก็โดยการกำหนดนามรูปตามนัยของสติปัฏฐาน ๔ เท่านั้น คือ

         กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ละ สุภวิปลาส

         เวนานนุปัสสนาสติปัฏฐาน ละ สุขวิปลาส

         จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ละ นิจจวิปลาส

         ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ละ อัตตวิปลาส
 ด้วยเหตุนี้ การเจริญวิปัสสนากับการเจริญสติปัฏฐานจึงเป็นอย่างเดียวกัน โดยความเป็นเหตุเป็นผลกัน

 

วิปัสสนาภูมิ ๖  

วิปัสสนาภูมิ หมายถึง พื้นที่กระทำวิปัสสนา หรือกรรมฐานของวิปัสสนา หรือ อารมณ์ของวิปัสสนา  หมายความว่า การเจริญวิปัสสนานั้นต้องกำหนดรู้อยู่ที่วิปัสสนาภูมิ          

วิปัสสนาภูมิที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนั้น มีอยู่ ๖ ภูมิด้วยกัน เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ ๖ แต่เมื่อย่อวิปัสสนาภูมิลงแล้ว คงได้ ๒ อย่างคือ รูปธรรมกับนามธรรม กล่าวสั้นๆ ว่า รูป-นาม

 ธรรมอันเป็นที่ตั้งเป็นที่เกิดของวิปัสสนา หรือที่เรียกว่า ?วิปัสสนาภูมิ? คือ พื้นเพในการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น มี ๖ได้แก่    ๑.ขันธ์ ๕     ๒.อายตนะ ๑๒      ๓.ธาตุ ๑๘      ๔.อินทรีย์ ๒๒    ๕.ปฏิจจสมุปปาท ๑๒      ๖.อริยสัจ ๔
 

               ๑) ขันธ์ มี ๕
               ๑. รูปขันธ์                องค์ธรรม ได้แก่ รูป ๒๘ (มหาภูตรูป๔),อุปาทยรูป๒๔
               ๒. เวทนาขันธ์           องค์ธรรม ได้แก่ เวทนาเจตสิก ที่ในจิต๘๙ หรือ ๑๒๑
               ๓. สัญญาขันธ์           องค์ธรรม ได้แก่ สัญญาเจตสิกที่ในจิต๘๙ หรือ ๑๒๑
               ๔. สังขารขันธ์           องค์ธรรม ได้แก่ เจตสิก ๕๐ (เว้นเวทนา, สัญญา) ที่ในจิต๘๙ หรือ ๑๒๑ ตามสมควร
               ๕. วิญญานขันธ์  องค์ธรรม ได้แก่ จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑

 

               ๒) อายตนะ  ๑๒             ๑) จักขายตนะ จักขุ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิด  องค์ธรรมได้แก่ จักขุปสาท
               ๒) โสตายตนะ โสตะ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท
               ๓) ฆานายตนะ ฆานะ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท
               ๔) ชิวหายตนะ ชิวหา ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท
               ๕) กายายตนะ กายะ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรม ได้แก่ กายปสาท
               ๖) รูปายตนะ รูปารมณ์ ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ สีต่างๆ
               ๗) สัททายตนะ สัททารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ เสียงต่างๆ
               ๘) คันธายตนะ คันธารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ กลิ่นต่างๆ
               ๙) รสายตนะ รสารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ รสต่างๆ
               ๑๐) โผฏฐัพพายตนะ โผฏฐัพพารมณ์ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ สัมผัสต่างๆ
               ๑๑) มนายตนะ จิต ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ จิตทั้งหมด
               ๑๒) ธัมมายตนะ สภาพธรรมต่างๆ ชื่อว่าอายตนะ เพราะเป็นเหตุให้จิต เจตสิกเกิดองค์ธรรมได้แก่ เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพา� ๓) ธาตุ มี ๑๘
               ๑) จักขุธาตุ จักขุ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่รูปารมณ์มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ จักขุประสาท
               ๒) โสตธาตุ โสตะ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่สัททารมณ์มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท
               ๓) ฆานธาตุ ฆานะ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่คันธารมณ์มากระทบได้องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท
               ๔) ชิวหาธาตุ ชิวหา  ชื่อว่าธาตุ  เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่ รสารมณ์มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท
               ๕) กายธาตุ กายะ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งความใสที่โผฏฐัพพารมณ์มากระทบได้ องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท
               ๖) รูปธาตุ รูปารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับจักขุปสาทได้ องค์ธรรม ได้แก่ สีต่างๆ
               ๗) สัททธาตุ สัททารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับโสตปสาทได้ องค์ธรรมได้แก่ เสียงต่างๆ
               ๘) คันธธาตุ คันธารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับฆานปสาทได้ องค์ธรรมได้แก่ กลิ่นต่างๆ
               ๙) รสธาตุ รสารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับชิวหาปสาทได้ องค์ธรรม ได้แก่ รสต่างๆ
               ๑๐) โผฏฐัพพธาตุ โผฏฐัพพารมณ์ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการกระทบกับกายปสาทได้ องค์ธรรมได้แก่ สัมผัสต่างๆ
               ๑๑) จักขุวิญญาณธาตุ จักขุวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราทรงไว้ซึ่งการเห็น องค์ธรรมได้แก่ จักขุวิญญาณจิต ๒
               ๑๒) โสตวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ ทรงไว้ซึ่งการได้ยิน องค์ธรรมได้แก่ โสตวิญญาณจิต ๒
               ๑๓) ฆานวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้กลิ่น องค์ธรรมได้แก่ ฆานวิญญาณจิต ๒

 ๑๔) ชิวหาวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้รส องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาวิญญาณจิต ๒
               ๑๕) กายวิญญาณธาตุ กายวิญญาณ ชื่อว่าธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้สัมผัส องค์ธรรมได้แก่ กายวิญญาณจิต ๒
               ๑๖) มโนธาตุ จิต ๓ ดวง ชื่อว่ามโนธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้ปัญจารมณ์อย่างสามัญ องค์ธรรมได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉันจิต ๒
               ๑๗) มโนวิญญาณธาตุ จิต ๗๖ ดวง ชื่อว่ามโนวิญญาณธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้ อารมณ์เป็นพิเศษ องค์ธรรมได้แก่ จิต ๗๖ (เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ มโนธาตุ ๓)
               ๑๘) ธัมมธาตุ สถาวธรรม ๖๙ ชื่อว่าธัมมธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งสภาวลักษณะของตนๆ องค์ธรรมได้แก่ เจตสิก๕๒  สุขุมรูป๑๖  นิพพา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 07, 2011, 08:19:20 PM โดย AVATAR » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 12:37:31 PM »

สรุปว่า
สมถะ คือ การเพ่งอารมณ์ให้เป็นหนึ่ง สงบ (ทำให้จิตมีกำลัง ) เป็นฐานพลังของวิปัสนา

                 ต่อมาก็ใช้ ความสงบ สยบ ความเคลื่อนไหว (รู้ ไตรลักษณ์ ของกายและจิต ด้วยจิต เรียกว่าจิตรู้.. ) อิ อิ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
AVATAR
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 29
กระทู้: 967


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 01:47:55 PM »



หลักของสมถะและวิปัสสนา

หลักของสมถะ เรื่องของสมถะ หรือ สมาธิ โดยย่อ ก็คือ การทำจิตให้สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการ จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ เพื่อให้จิตจับสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้นโดยไม่กวัดแกว่งไปในอารมณ์อื่น ตามอำนาจของกิเลสนิวรณ์ก็ใช้ได้
ส่วนการที่จะให้รู้อะไรหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ขอเพียงแต่ให้จิตใจตั้งมั่นนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งนั้นก็แล้วกัน เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิแล้ว ในด้านความรู้นั้น อย่างดีก็จะมีความรู้สึกเพียง ว่าง ๆ เฉย ๆ หรือ สงบเยือกเย็น เท่านั้น ที่จะให้เกิดความรู้ในเหตุผลนั้น ไม่มีเลย
หลักของ สมาธิ นั้น ถ้าความรู้ใน เหตุผล ยิ่งน้อยลงไปเท่าใด สมาธิ ก็จะมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น หรือ สมธิ ยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่าใด ความรู้ในเหตุผลก็ยิ่งลดน้อยลงไปเท่านั้น จนเกือบจะไม่มีความรู้สึกอะไรเลย นี่คือ หลักของ สมถะ หรือ สมาธิ
หลักของวิปัสสนา ต้องการให้ ปัญญา รู้เหตุผลตามความจริงและสภาวธรรม ไม่ใช่ต้องการให้นิ่ง หรือ สงบ หรือ สุขสบาย แต่ต้องการให้ความจริงของธรรมชาติ ที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์เท่านั้น
หลักของปัญญาในทางที่ถูกต้องนั้น ยิ่งเพ่งยิ่งรู้ ยิ่งเพ่งอารมณ์ที่เป็นความจริงได้มากเท่าใด ปัญญาก็จะยิ่งรู้เหตุผลที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ยิ่งเกิดความเห็นถูกมากยิ่งขึ้นเท่าใด ความสงสัยและความเห็นผิด ก็จะยิ่งหมดไปเท่านั้น กิเลส คือ ความเห็นผิดและความสงสัย ถูกละไปหมดเท่าใด จิตใจก็จะบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสมากขึ้นเท่านั้น
ฉะนั้น วิปัสสนา จึงเป็นชื่อของปัญญา ที่รู้ความจริง แล้วละกิเลสให้บริสุทธิ์หมดจดได้ นี่คือหลักการของ วิปัสสนา

สมถะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนาอย่างไร ?

สมถภาวนา เป็นการฝึกอบรมจิตใจให้สงบจากกิเลสนิวรณ์ มิใช่เป็นทางปฏิบัติเพื่อพ้นความทุกข์โดยตรง ทั้งยังไม่เป็นเหตุให้เข้าถึงอริยสัจ ๔ ประการ เช่น การปฏิบัติของท่านอาฬารดาบส กาลมโคตร และอุทกดาบส รามบุตร ที่สำเร็จอรูปฌาน ถึงอากิญจัญญายตนฌานและเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเคยสอนการทำฌานแก่พระพุทธเจ้ามาก่อน ก็ยังไม่บรรลุมรรค ผล นิพพาน เพราะสมถะไม่อาจหยั่งสู่สภาวะของรูปนามตามความเป็นจริง และไม่อาจทำลายความเห็นผิดที่คิดว่า รูปนามขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวตน เป็นเราได้
เมื่อไม่รู้ว่า รูปนาม ก็ไม่เห็นไตรลักษณ์ เพราะไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีอยู่ที่ รูปนาม แต่พระพุทธองค์ประสงค์จะอนุเคราะห์แก่บรรดาฌานลาภีบุคคล ที่เคยเจริญสมถภาวนามาจนสำเร็จฌานชำนิชำนาญแล้ว ก็ให้ยกองค์ฌานคือ สภาวะของ นามธรรม มีวิตก วิจาร ปิติ สุข (เวทนา) เอกัคคตา (สมาธิ) ขึ้นเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาโดยต้องออกจากฌานเสียก่อน และมีความชำนิชำนาญในวสี ๕ ประการด้วย นามธรรมที่เป็นองค์ฌานเหล่านี้ มีสภาพธรรมที่เป็นความจริง จึงจะแสดงความเป็นไตรลักษณ์ให้ปรากฏได้
อนึ่ง ผู้เจริญสมถภาวนาจนจิตสงบ ข่มกิเลสนิวรณ์ลงได้แล้ว แม้ยังไม่สำเร็จฌานหรือยังไม่ชำนาญในฌาน แต่การที่สงบจากกิเลสนิวรณ์ ก็เป็นปัจจัยช่วยการปฏิบัติวิปัสสนาให้สะดวกขึ้นได้ เพราะอาศัยกิเลสนิวรณ์สงบลง จึงเป็นปัจจัยให้ปัญญารู้นามรูป ตามความเป็นจริงได้ง่ายขึ้น ในวิสุทธิมรรคอรรถกถาจึงได้แสดงฌานเป็นบาทของวิปัสสนาไว้ โดยหมายถึงการได้ฌานแล้ว จึงมาเจริญวิปัสสนาต่อไป หรือหมายถึง เมื่อเจริญสมถภาวนาจนจิตสงบจากกิเลสนิวรณ์แล้วจึงมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป เรียกผู้ปฏิบัติวิปัสสนาโดยอาศัยสมถะนี้เป็นบาทว่า สมถยานิกกะ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงว่า หากไม่ทำสมถกรรมฐานเสียก่อนแล้ว วิปัสสนาย่อมเกิดไม่ได้ ความเข้าใจอย่างนี้ เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะวิปัสสนานั้นเป็นชื่อของปัญญา ที่เห็นรูปนาม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้ใดเมื่อได้ศึกษารูปนามตามนัยปริยัติแล้ว จะยกรูปนามสู่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยตรงก็ได้ เรียกผู้นั้นว่า วิปัสสนายานิกกะ
แต่ในปัจจุบันนี้หาผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานจนสำเร็จฌานได้ยากเพราะจิตใจของบุคคลสมัยนี้เต็มไปด้วยอำนาจของกิเลสนิวรณ์ และกามคุณอารมณ์ก็อุดมสมบูรณ์
ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่ฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิดหรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน
นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง
สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้
ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา

ความแตกต่างระหว่างสมถะ กับวิปัสสนา

๑. โดยปรารภผล
สมถะ เพ่ง เพื่อให้จิตสงบ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว
วิปัสสนา เพ่ง เพื่อรู้อารมณ์ตามความเป็นจริง

๒. โดยอารมณ์
สมถะ มีนิมิตบัญญัติเป็นอารมณ์กรรมฐานเป็นส่วนมากเพราะต้องการความมั่นคง
วิปัสสนา ต้องมีรูปนาม เป็นอารมณ์ เพราะต้องเป็นอารมณ์ที่มีการเกิด – ดับ ตรงตามธรรมชาติที่เป็นความจริง

๓. โดยสภาวธรรม
สมถะ มีสมาธิ คือเอกัคคตาเจตสิก ที่ให้จิตตั้งมั่นในอารมณ์
วิปัสสนา มีปัญญา รู้รูปนามว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

๔. โดยการละกิเลส
สมถะ ละกิเลสอย่างกลาง ปริยุฏฐานกิเลส
วิปัสสนา ละกิเลสอย่างละเอียด อนุสัยกิเลส

๔. โดยอาการที่ละกิเลส
สมถะ ละด้วยการข่มไว้ เป็น วิกขัมภนปหาน
วิปัสสนา ละด้วยการขัดเกลาเป็นขณะ ๆ เป็น ตทังคปหาน

๕. โดยอานิสงส์
สมถะ ให้อยู่เป็นสุขด้วยการข่มกิเลส และให้ไปเกิดในพรหมโลก
วิปัสสนา เพื่อละวิปลาสธรรม และเข้าถึงความพ้นทุกข์ คือ ถึงความไม่เกิดเป็นที่สุด

จากการบรรยายของ พระมหาประกอบ ปภงฺกโร สำนักวิปัสสนาขามสะแกแสง นครราชสีมา
บันทึกการเข้า

เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เพื่อพากันหลุดพ้นออกจากวัฏฏสงสารนี้
the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: เมษายน 08, 2013, 09:47:01 PM »

สมถะ          พักจิตให้หายเหนื่อย

วิปัสสนา   จิต รู้ กาย เวทนาจิต ธรรมอารมณ์ ตามกฏพระไตรลักษณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในสามเรื่อง คือ ทุกขัง อนิจจังหรืออนัตตา ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
greenrider86
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 6


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2013, 08:44:37 PM »

ขอบคุณจ้ะ ทำให้กระจ่างเลย ^^
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: