KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4 คืออะไร สำคัญอย่างไรทางสายเอก มหาสติปัฏฐาน4 คืออะไร
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ทางสายเอก มหาสติปัฏฐาน4 คืออะไร  (อ่าน 85449 ครั้ง)
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 09, 2009, 05:50:38 PM »



ทางสายเอก มหาสติปัฏฐาน4        

               มหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นการปฏิบัติที่พระองค์ท่านตรัสว่าเป็นทางสายเอก(เอกายนมรรค)  เมื่อปฏิบัติอย่างดีงามย่อมทำให้โพชฌงค์องค์แห่งการตรัสรู้บริบูรณ์ กล่าวคือย่อมทำให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ถึงที่สุด ดังที่ตรัสแสดงไว้อย่างแจ่มแจ้งในกุณฑลิยสูตร   ในการศึกษาการปฏิบัติทั้งหลายไม่ว่าในทางโลกหรือทางธรรมก็ตามที ต่างล้วนต้องเรียนรู้ให้เข้าใจจุดประสงค์เสียก่อน กล่าวคือ ต้องมีปัญญาหรือวิชชาเป็น พื้นฐานบ้างเสียก่อน จึงเริ่มลงมือปฏิบัติ จึงถูกต้องดีงาม อันจักยังผลให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างถูกต้องแนวทาง  ดังนั้นจึงควรมีความเข้าใจด้วยการศึกษาธรรมให้เข้าใจจุดประสงค์อย่างถูก ต้องด้วย  เพราะเป็นที่นิยมปฏิบัติกันโดยไม่ศึกษาให้ดีงามเสียก่อน  เริ่มต้นปฏิบัติก็มักเพราะเป็นทุกข์กำลังรุมเร้า หรือด้วยความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ได้ยินได้ฟังมาอยู่เนืองๆ ก็เริ่มปฏิบัติอานาปานสติหรือสติปัฏฐาน ๔ โดยไม่มีความรู้ความเข้าใจเลย ดังนั้นแทนที่เป็นการฝึกสติ,ใช้สติชนิดสัมมาสติ  กลับกลายเป็นการฝึกการใช้มิจฉาสติจึงได้มิจฉาสมาธิแบบผิดๆอันให้โทษ  จีงเกิดขึ้นและเป็นไปตามพุทธพจน์ข้างต้น   จึงอุปมาเหมือนการเรียนเคมี โดยไปปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเสียเลย ด้วยเข้าใจว่าไปเรียนไปศึกษาจากการปฏิบัติโดยตรงคงยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นเอง ด้วยเหตุดั่งนี้เอง จึงเกิดอุบัติเหตุการระเบิดขึ้นได้ด้วยความไม่รู้หรืออวิชชานั่นเอง  จึงสมควรอย่างยิ่งที่ต้องมีการเรียนรู้ให้เข้าใจจุดประสงค์เป็นพื้นฐานบ้างเสียก่อน จะได้ดำเนินไปอย่างถูกต้องแนวทางสมดังพุทธประสงค์ คือสัมมาสติที่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์ อันเป็นสุขยิ่ง

         สติ ปัฏฐาน ๔ จึงเป็นการฝึกสติใช้สติ สมดังชื่อ ที่หมายความว่า การมีสติเป็นฐาน ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งสติ  ซึ่งเมื่อเกิด สัมมาสติขึ้นแล้ว ย่อมยังให้เกิดจิตตั้งมั่นอันคือสัมมาสมาธิร่วมด้วยโดยธรรมหรือธรรมชาติ  แล้วนำทั้งสัมมาสติและสัมมาสมาธินั้นไปดำเนินการพิจารณาในธรรมคือเจริญ วิปัสสนา ในธรรมทั้งหลายดังที่แสดงในธัมมานุปัสสนา หรือธรรมอื่นใดก็ได้ตามจริต สติ ปัญญา มิได้จำกัดแต่เพียงในธรรมานุปัสสนาเท่านั้น

           อานาปานสติ เป็นการฝึกสติใช้สติิ  โดยการใช้ลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ ที่หมายถึงเครื่องกำหนด กล่าวคืออยู่ในอารมณ์คือลมหายใจเข้าและออกอย่างมีสติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาเป็นจุดประสงค์สำคัญ   แต่กลับนิยมนำไปใช้เป็นอารมณ์ในการวิตกเพื่อให้จิตสงบเพื่อการทำฌานสมาธิเสียแต่ฝ่ายเดียวเป็นส่วนใหญ่หรือทุกครั้งไปเนื่องด้วยอวิชชาด้วยความไม่รู้  จึงไม่ได้สนใจการเจริญวิปัสสนาให้เกิดนิพพิทา,ให้เกิดปัญญาเลย  โดยปล่อยให้เลื่อนไหลหรือสติขาดไปอยู่แต่ในความสงบสุขสบายอันเกิดแต่ภวังค์ของฌานหรือสมาธิระดับประณีตแต่ฝ่ายเดียวหรือเสมอๆ  เพราะฌานสมาธินั้นยังให้เกิดความสุข ความสงบ ความสบายอันเกิดขึ้นจากภวังค์ และการระงับไปของกิเลสในนิวรณ์ ๕ เป็นระยะเวลาหนึ่ง  ตลอดจนนิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นจากฌานสมาธิล้วนตื่นตาตื่นใจ อย่างเห็นได้ชัดและรวดเร็วเมื่อปฏิบัติได้ผลขึ้น จึงเกิดการติดเพลิน(นันทิ)โดยไม่รู้ตัว  ในที่สุดความตั้งใจที่ฝึกสัมมาสติอันเป็นมรรคองค์ที่ ๗ จึงกลับกลายเป็นมิจฉาสติไปโดยไม่รู้ตัว จึงได้มิจฉาสมาธิร่วมไปโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย

        หรือนิยมเข้าใจกันทั่วๆไปโดยนัยๆว่า ปฏิบัติสมถสมาธิ หรือปฏิบัติอานาปานสติ หรือปฏิบัติสติติดตามอริยาบถ ก็เพียงพอเป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ อันดีงามแล้ว และก็ทำอยู่แต่อย่างนั้นอย่างเดียวนั่นเอง เช่นนั่งแต่สมาธิแต่ขาดการเจริญวิปัสสนา,   ดังนั้นการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ จึงควรดำเนินประกอบด้วยการเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาหรือความเข้าใจตามความเป็นจริงอย่างถูกต้อง เพราะไม่เช่นนั้นก็ย่อมดำเนินและเป็นไปดังพุทธดำรัสที่ตรัสแสดงไว้ข้างต้น

ทางสายเอก มหาสติปัฏฐาน4

                  สติปัฏฐาน ๔ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ, หรือข้อปฏิบัติที่ใช้สติเป็นประธานหรือหลัก ในการกำหนดระลึกรู้หรือพิจารณาสิ่งทั้งหลาย ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ)นั้นๆ  โดยไม่ถูกครอบงําด้วยความยินดียินร้าย(ตัณหา)ที่ทําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงตามอํานาจของกิเลสตัณหา  หรือกล่าวได้ว่าสติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งสติ จุดประสงค์เพื่อฝึกสติ และใช้สตินั้นพิจารณาและรู้เท่าทันใน กาย เวทนา จิต และธรรม  เพื่อให้เกิดนิพพิทาความ คลายกำหนัดความยึดความอยากจากการไปรู้ตามความเป็นจริงของสิ่งนั้นๆ จึงคลาย ตัณหา  จึงเป็นไปเพื่อนําออกและละเสียซึ่งตัณหาแลอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น ในกิเลสด้วยความพึงพอใจหรือสุขของตัวของตนเป็นสำคัญ  ที่มีในสันดานของปุถุชนอันก่อให้เกิดความทุกข์โดยตรงด้วยเป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์,  พระองค์ท่านแบ่ง สติปัฏฐาน ๔ ออกเป็น ๔ หมวดใหญ่ด้วยกัน คือ

        ๑. กายานุปัสสนา การมีสติในกายเป็นอารมณ์ คือมีสติกําหนดพิจารณากาย  ให้เห็นกายในกาย คือเห็นตามความเป็นจริงของกาย เช่น "เป็นเพียงการประชุมกันของเหตุปัจจัยอันมีธาตุ ๔ ดิน นํ้า ลม ไฟ" (อ่านรายละเอียดในไตรลักษณ์)  หรือการเกิดแต่เหตุที่เป็นของสกปรกปฏิกูลโสโครกประกอบหรือเป็นปัจจัยกันขึ้น(ทวัตติงสาการ)  หรือการพิจารณาส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อให้เกิดนิพพิทา อันล้วนเป็นไปการระงับหรือดับตัณหาแลอุปาทานโดยตรงทั้งสิ้น

        ใน ขั้นแรกนั้น เป็นการฝึกให้มีสติเสียก่อน  โดยฝึกดูลมหายใจที่หายใจเข้า ที่หายใจออก อย่างมีสติ,  หรือการมีสติอยู่ในอิริยาบถของกาย  แล้วใช้สตินั้นในการพิจารณากายในแบบต่างๆ ตลอดจนการเกิดดับต่างๆของกาย ฯลฯ. ล้วนเพื่อให้เกิดนิพพิทา เพื่อให้จิตลดละความยินดียินร้ายในกายแห่งตนแลบุคคลอื่นเมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงของกายนั้นว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา  จิตจะได้คลายความยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจหรือหลงใหลในกายแม้ตัวตนของตนหรือ บุคคลอื่น  เป็นการตัดกำลังตัณหาแลอุปาทานโดยตรงทางหนึ่ง ซึ่งท่านแบ่งเป็น ๖ แบบ



        ๑.๑ อานาปานสติ ขอเน้นว่าจุดประสงค์อยู่ที่สติ โดยให้จิตคือสติกําหนดตามดูหรือรู้ตามลมหายใจเข้าออกแบบต่างๆ  ตลอดจนสติสังเกตุเห็นอาการของลมหายใจ  มีจุดประสงค์เพื่อฝึกให้มีสตและิเพื่อละความดำริพล่านคือฟุ้งซ่านเป็นสำคัญหรือเป็นธรรมเอก  เหตุเพราะลมหายใจนั้นก็สามารถใช้เป็นอารมณ์หรือการวิตกใน การทำฌานหรือสมาธิได้ด้วย  ข้อนี้จึงมักสับสนกันอยู่เนืองๆ จนก่อโทษ  จึงทำสติต้องเป็นสติ  สมาธิก็เป็นสมาธิ  กล่าวคือเมื่อทำสติต้องเป็นสติ จึงเป็นสัมมาสติ  เมื่อตั้งใจทำสมาธิแล้วเป็นสมาธิก็เป็นสัมมาสมาธิ   แต่บางครั้งคราวในการปฏิบัติอาจมีการเลื่อนไหลเพราะสติขาดเกิดขึ้นบ้าง เป็นครั้งเป็นคราว เป็นเรื่องปกติธรรมดาไม่ต้องกังวล  เนื่องจากบางครั้งฝึกสติก็จริงอยู่ แต่เกิดอาการขาดสติหรือสติอ่อนลงเป็นครั้งคราวบ้างจึงเลื่อนไหลไปเป็นฌาน หรือสมาธิแทน  อย่างนี้ไม่เป็นไร  (ดังแสดงจุดประสงค์ไว้อย่างชัดเจนเรื่องอานาปานสติในกายคตาสติสูตร),  การตั้งกายตรง ก็เพื่อช่วยดำรงสติไว้ไม่ให้เลื่อนไหลไปง่วงหาวนอนได้ง่ายๆขณะปฏิบัติ

        ๑.๒ อิริยาบถ  คือกําหนดสติให้ระลึกรู้ในอิริยาบถอาการต่างๆของกาย เช่น เดิน นอน ยืน นั่งฯลฯ. คือมีสติรู้ในอิริยาบทต่างๆนั่นเอง  มีจุดประสงค์เช่นเดียวกับอานาปานสติคือเพื่อละความดำริพล่าน คือฟุ้งซ่านเป็นสำคัญหรือเป็นธรรมเอก  ไม่ได้มีจุดประสงค์โดยตรงเพื่อใช้เป็นอารมณ์ในการทำสมาธิหรือฌาน (ดังแสดงจุดประสงค์ไว้อย่างชัดเจนเรื่องอิริยาบถในกายคตาสติสูตร)



ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.nkgen.com/13.htm
( อ่านต่อข้างล่างน่ะครับ )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 19, 2012, 09:54:39 AM โดย golfreeze » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2009, 09:13:22 PM »

๑. กายานุปัสสนา (ต่อน่ะครับ) 

 ดังนั้นอานาปานสติจึงใช้ปฏิบัติเมื่อวิเวก  ส่วนอิริยบถใช้โดยทั่วไปได้เนืองๆในการดำรงชีวิตประจำวัน

        ๑.๓ สัมปชัญญะ   ความรู้ตัวคือปัญญาในการให้มีสติต่อเนื่องในการกระทําหรือการเคลื่อนไหว เช่นเดิน ดื่ม กิน ถ่าย วิ่ง ตื่น หลับ ฯลฯ. กล่าวคือมีสติอย่างรู้ตัวทั่วพร้อม  สติระลึกรู้อย่างต่อเนื่องสลับสับเปลี่ยนอิริยาบทกันได้ ตามที่สติระลึกรู้ตามความเป็นจริง มีสติระลึกรู้ไม่เพ่งจนแน่วแน่เพื่อการเป็นสมาธิระดับสูงหรือประฌีตแต่อย่างใด ใช้แค่ขณิกสมาธิเป็น เบื้องต้นเท่านั้น เพราะต้องการฝึกสติเป็นหลัก  ไม่ใช่สมาธิ สมาธิเป็นผลที่เกิดรองลงมาเท่านั้น ซึ่งอาจเลื่อนไหลไปสู่ฌานสมาธิในระดับประณีตได้โดยธรรมหรือธรรมชาติอีกด้วย แต่ต้องไม่ใช่เจตนาฝึกสติแล้วไหลเลื่อนเป็นฌานสมาธิเสียทุกครั้งไป ดังเช่น การใช้การจงกรมไปในการเจริญสมาธิเป็นสำคัญก็มี กล่าวคือการใช้ท่าการเดินนั้นเป็นอารมณ์เพื่อเน้นให้เกิดความสงบจากฌานสมาธิเสียเป็นสำคัญแต่อย่างเดียว ไม่ได้สนใจสติหรือปัญญาเลย  แล้วไปเข้าใจเอาว่า ความสงบนั้นถูกต้องดีงามแล้ว  มีจุดประสงค์เช่นเดียวกัน คือเพื่อละความดำริพล่านคือฟุ้งซ่านเป็นสำคัญหรือเป็นธรรมเอก (ดังแสดงจุดประสงค์ไว้อย่างชัดเจนเรื่องสัมปชัญญะในกายคตาสติสูตร)   หรือการรู้ตัวทั่วพร้อมในกิจหรืองานที่กระทำนั่นเอง

      ๑.๔ ปฏิกูลมนสิการ เมื่อมีสติในสิ่งดังกล่าวข้างต้น จิตย่อมไม่ดำริพล่านออก ไปปรุงแต่งฟุ้งซ่าน จึงใช้สติที่ฝึกมานั้นอันย่อมประกอบด้วยสมาธิจิตตั้งมั่นอยู่ในที เนื่องจากการละดำริพล่านลงไปเสีย  จึงนำสติและจิตตั้งมั่นนั้นไปใช้พิจารณาส่วนต่างๆของร่างกายว่าล้วนเป็น สิ่งปฏิกูล ไม่สะอาด โสโครก ต้องเข้าใจว่ากายตน(เห็นกายในกายภายใน) และกายของบุคคลอื่น(เห็นกายในกายภายนอก)ต่างก็เป็นเฉกเช่นนี้ ล้วนเป็นไปเพื่อให้เกิดนิพพิทาเพื่อ ลดละความยึดมั่นพึงพอใจหลงไหลในกายตนและในกายบุคคลอื่นลง  เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริงว่าล้วนแล้วแต่เป็นของปฏิกูลโสโครก เพื่อคลายความหลงใหลรักใคร่ยึดมั่นมันลงไป จึงคลายกำหนัด ดังมีกล่าวแสดงรายละเอียดไว้ในกายคตาสติสูตร  หรือดังภาพที่แสดงในทวัตติงสาการ

        ๑.๕ ธาตุมนสิการ พิจารณา ให้เห็นตามความเป็นจริงของกายนี้ว่า เป็นเพียงก้อนหรือมวลหรือฆนะของธาตุทั้ง ๔ อันล้วนไม่งาม ไม่สะอาด มาประชุมกันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกายนี้ชั่วขณะระยะหนึ่ง ทั้งกายตนเองและบุคคลอื่นเช่นกัน   ดังที่ได้กล่าวไว้ ๒ ลักษณะในการพิจารณาในไตรลักษณ์  และกายคตาสติสูตรโดยละเอียด

        ๑.๖ นวสีวถิกา คือพิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ เป็นระยะๆ ๙ แบบหรือระยะ จนผุพังเน่าเปื่อยไปในที่สุด และต้องเข้าใจว่ากายตนแลผู้อื่นต่างก็ล้วนต้องเป็นเฉกเช่นนี้  ไม่เป็นอื่นไปได้(ภาพอสุภะ)

        ในทางปฏิบัติของ เห็นกายในกาย คือมีสติระลึกรู้อยู่เนืองๆว่า สักแต่ว่ากายตามที่ได้พิจารณาเข้าใจ เพื่อให้บังเกิดนิพพิทาญาณ จึงดับตัณหา

        อนึ่งพึงระลึกรู้ด้วยว่า  การมีสติอยู่กับกาย เป็นเพียงการระลึกรู้เท่าทันกาย ทั้งทางด้านปัญญาด้วยเช่นว่าไม่งามเป็นปฏิกูลเพื่อความนิพพิทา   แต่ถ้าแน่วแน่แต่อย่างเดียวขาดสติการระลึกรู้ก็กลับกลายเป็นสมถสมาธิไปได้โดยไม่รู้ตัว (หมายความว่า มีความตั้งใจฝึกสติ แต่ไปทำสมาธิเสียโดยไม่รู้ตัว)


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.nkgen.com/13.htm
( อ่านต่อข้างล่างน่ะครับ )
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2009, 09:16:58 PM »

๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน

                   สติกําหนดพิจารณาเวทนาหรือการเสพรสอารมณ์ที่บังเกิดขึ้นเป็นธรรมดาจาการกระทบคือผัสสะ  ให้เห็นเวทนาในเวทนา คือ เห็นตามความเป็นจริงของเวทนาว่า "เวทนาเป็นสักแต่ว่าเป็นการรับรู้ การเสพรสอารมณ์ที่มากระทบสัมผัสทั้งทางใจและกายคือในรูป,เสียง,กลิ่น,รส, สัมผัส,ธรรมารมณ์ เป็นขบวนการธรรมชาติหรือสภาวธรรมแท้อันยิ่งใหญ่ที่มีในมนุษย์ทุกผู้นาม เป็นเพียงขบวนการรับรู้ในขั้นแรกๆที่เอาข้อมูลมาจากสัญญา(ความจํา)อดีตหรืออาสวะกิเลส    ยังไม่ใช่ความทุกข์จริงๆ  พิจารณาให้เห็นว่าเมื่อมีการผัสสะย่อม เกิดเวทนาอันมี สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอทุกขมสุข(ไม่สุขไม่ทุกข์)อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดาทุก ครั้งไป  ซึ่งเป็นเวทนาปกติหรือเป็นไปโดยธรรมหรือธรรมชาติ  หลีกเลี่ยงหลบหนีไม่ให้เกิดไม่ให้เป็นไม่ได้ เป็นหลักธรรมชาติธรรมดาๆแต่สูงสุด  จิตจะได้คลายความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาหรือการเสพรสอารมณ์ ที่บังเกิดนั้นๆ จึงไม่เกิดตัณหาขึ้น จึงเป็นเพียงสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาตามธรรมหรือธรรมชาติแต่ย่อมไม่เร่าร้อนเผาลนดังเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน(เวทนูปาทาน)  ดังพุทธพจน์ที่แสดงไว้ให้เข้าใจและรู้เท่าทันในเวทนาดังนี้

       เมื่อเป็นสุขเวทนาก็ให้รู้ว่าเป็นสุขเวทนา เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี

        เมื่อเป็นทุกขเวทนาก็ให้รู้ว่าเป็นทุกขเวทนา เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี

        เมื่อเป็นอทุกขมสุขก็ให้รู้ว่าเป็นอทุกขมสุข เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี

        เมื่อเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอทุกขมสุข ชนิดมีอามิส(เครื่องล่อใจ-เจือกิเลส)ก็รู้ว่ามี เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี

        เมื่อเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอทุกขมสุข ชนิดไม่มีอามิส ก็รู้ว่ามี เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี


เวทนา เป็นเพียงสักแต่ว่าเวทนาคือความรู้สึกที่เกิดขึ้นและจำต้องรับรู้  ที่แท้จริงก็แค่ความรู้สึกที่ต้องเกิดขึ้นจากการกระทบจึงไม่ควรไปยึด มั่น  เกิดขึ้นและเป็นไปตามธรรมหรือสภาวธรรมหรือธรรมชาติจริงๆ ตามเหตุปัจจัยอันมาปรุงแต่ง หรือมาผัสสะ  จึงเกิดๆดับๆ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่มีตัวไม่มีตนแท้จริง จึงไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราอย่างแท้จริงอีกด้วย   เห็นเวทนาทั้งในเวทนาตนเอง(เห็นเวทนาในเวทนาภายใน  จึงไม่ใช่อาการของจิตส่งในแต่อย่างใดด้วยเข้าใจผิด) และผู้อื่น(เห็นเวทนาในเวทนาภายนอก  จึงไม่ใช่อาการจิตส่งออกนอกไปฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งแต่อย่างใด)

        ในทางปฏิบัติของ เห็นเวทนาในเวทนา คือมีสติรู้อยู่เนืองๆว่าเวทนาสักแต่ว่าเวทนา อันย่อมต้องเกิดความรู้สึกจากการรับรู้ในอารมณ์ที่ผัสสะกันเป็นธรรมดาโดยธรรมชาติหรือตถตา  จึงไม่ไม่ยึดมั่นหมายมั่นในเวทนาเหล่าใดเหล่านั้น ด้วยการอุเบกขาไม่เอนเอียงไปนึกคิดปรุงแต่งคือฟุ้งซ่านอันยังให้เกิดเวทนาขึ้นอีก อันจักเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหา อัน ทําให้เกิดทุกข์ อันเป็นไปตามปฏิจจสมุปบาทธรรม  กล่าวคือไม่ต่อล้อต่อเถียงกับจิต อันเป็นการเปิดโอกาสให้จิต หลอกล่อไปปรุงแต่งต่างๆนาๆให้เกิดเวทนาๆต่างๆนาๆ อันอาจเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์อุปาทานโดยไม่รู้ตัวด้วยความไม่รู้คืออวิชชา

(พระอภิธรรม แสดงความหมายของเวทนาภายใน ที่มิได้หมายถึงอาการจิตส่งใน   และแสดงเวทนาภายนอก)


บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2009, 09:17:11 PM »


        ๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน
                 
                     คือการเห็นจิตในจิต หรือสติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาจิต (จิตตสังขารหรือมโนสังขารเช่นความคิด,ความนึก คือธรรมารมณ์ต่างๆ) รวมทั้งอาการของจิตหรือกริยาของจิต(เจตสิก) เช่นราคะ, โทสะ,โมหะ, ฟุ้งซ่าน ฯ. ที่เกิดเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ คือ มีสติรู้จิตตสังขารตามสภาพเป็นจริงที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ(เห็นจิตในจิต)เช่น จิตมีราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตมี,  จิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะก็รู้ว่าปราศจากราคะ โทสะ โมหะ,  จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่าหดหู่  หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน ทั้งของตนเองและของบุคคลอื่น อันเพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ และเห็นการเกิดๆดับๆว่าเป็นไปตามธรรมคือสภาวธรรมหรือธรรมชาติ ล้วนไม่เที่ยงของจิตตสังขารดังกล่าว เห็นจิตในจิต หรือ จิตเห็นจิต  ถ้าเข้าใจขันธ์ ๕ จักเข้าใจได้ว่าหมายถึงการมีสติเห็นจิตตสังขารที่ บังเกิดขึ้น(จิตสังขารหรือมโนสังขารหรือความคิดในขันธ์๕นั่นเอง ล้วนเป็นสิ่งเดียวกัน)  อันมีตามที่ท่านตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรดังนี้ คือมี

    จิตมีราคะ เป็นเจตสิก คืออาการของจิตที่ประกอบด้วยราคะ กล่าวคือกลุ่มของความคิดฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่ง ที่ประกอบด้วยความกำหนัดความปรารถนาในกามทั้ง๕ นั่นเอง

    จิตมีโทสะ เป็นเจตสิก คืออาการของจิตที่ประกอบด้วยโทสะ กล่าวคือกลุ่มของความคิดนึกหรือฟุ้งซ่านที่ประกอบด้วยความโกรธความขุ่นเคือง นั่นเอง

    จิตมีโมหะ เป็นเจตสิก คืออาการของจิตที่ประกอบด้วยโมหะความหลง หรือกลุ่มของความคิดนึกหรือฟุ้งซ่านที่ประกอบด้วยความไม่รู้จริง นั่นเอง

    จิตหดหู่ ก็เป็นเจตสิกในข้อที่ ๒๕ ในเจตสิก ๕๒  เป็นกลุ่มอาการของความคิดนึกหรือฟุ้งซ่านปรุงแต่งที่ทำให้เกิดความหดหู่ใจ ใจหดห่อ แห้งเหี่ยวใจ

    จิตฟุ้งซ่าน เป็นอาการของจิตอย่างหนึ่ง ที่เรียกอุทธัจจะในข้อที่ ๑๗ ในเจตสิก ๕๒  เป็นอาการของจิตที่ฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งไปในสิ่งหรือเรื่องต่างๆ

    จิตเป็นฌานหรือมหรคต จิตเป็นฌาณ, จิตอยู่ในกำลังฌาน, จิตประกอบด้วยกำลังของฌานอยู่

    จิตเป็นสมาธิ จิตมีความตั้งใจมั่นในสิ่งใดอยู่

    จิตมีสิ่งอื่นยิ่งกว่า หมายถึงอาการของจิตเป็นเอกหรือเป็นใหญ่อยู่ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่ เช่นจิตเป็นเอกอยู่กับการคำบริกรรมพุทโธ  หรือจิตเป็นเอกอยู่ในกิจหรืองานใดๆ,  หรือจิตเป็นเอกในธรรมที่เป็นเครื่องอยู่เครื่องพิจารณา,  หรือจิตหมกมุ่นจดใจจ่อในสิ่งใดอยู่

    จิตวิมุตติหรือจิตหลุดพ้น หมายถึงอาการที่จิตหลุดพ้นจากกิเลสหรือเจตสิกต่างๆดังที่กล่าว

กล่าวคือ ล้วนมีสติระลึกรู้เท่าทัน กล่าวคือมีสติระลึกรู้ "จิตหรืออาการของจิตคือเจตสิกที่บังเกิดขึ้น ณ ขณะจิตนั้นๆ"

        อนึ่งอาการของจิตทั้งหลายหรือเจตสิก ดังเช่น ราคะ โทสะ โมหะ จิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ. นั้นมันไม่มีอาการเป็นรูปธรรมแท้จริง  แต่มันอาศัยแฝงอยู่กับสังขารขันธ์คือการกระทำต่างๆนั่นเอง  ดังเช่น ความคิด(มโนสังขาร)ที่ประกอบด้วยราคะ,  การทำร้ายผู้อื่นทางกาย(กายสังขาร)ที่ประกอบด้วยโทสะ,  การคิดด่าทอ,ต่อว่า(วจีสังขาร)ที่ประกอบด้วยโมหะคืออาการหลงไปปรุงจนเกิดทุกข์ที่ประกอบด้วยความไม่รู้ตามความเป็นจริง เช่นคิดหรือธรรมารมณ์กระทบใจแล้วจะให้รู้สึกเฉยๆ,  การเกี้ยวพาราสีทั้งด้วยคำพูดทั้งกริยาท่าทางที่ประกอบด้วยราคะ,  จิตคิดฟุ้งซ่านหรือคิดวนเวียนไม่หยุดหย่อนในเรื่องไร้แก่นสาร เช่นคิดไปในอดีต อนาคต ก็คือความคิดที่ประกอบด้วยจิตฟุ้งซ่านนั่นเอง

        ใช้วิธีมีสติรู้เท่าทันเวทนาและจิต เป็นหลักปฏิบัติประจําเมื่อปฏิบัติจนชํานาญแล้ว และเห็นเวทนาในเวทนา(เวทนานุปัสสนา) เข้าใจถึงใจ และเข้าใจปฏิจจสมุปบาทดีแล้ว  จิตจักรู้สภาพจิตสังขารหรืออาการของจิต(เจตสิก)ที่เกิดขึ้น คือ เห็น ตัณหา ราคะ โมหะ โทสะ ชัดเจนขึ้น  เมื่อจิตเห็นจิต หรือเห็นจิตในจิต เช่นนี้เรื่อยๆ  จิตจะเห็นความคิดอารมณ์ที่ เกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอดเวลาว่าเป็นสภาวธรรมอันไม่เที่ยง ไม่มีแก่นแกนหรือแก่นสาร และก่อให้เกิดทุกข์อย่างชัดแจ้ง อันทําให้รู้เห็นตามความเป็นจริงในสภาวธรรม   จิตจักได้คลายความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาและจิตที่ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้จึงเป็นทุกข์ และอนัตตา  อันก่อให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ เห็นความคิด(จิตหรือจิตตสังขารนั่นเอง) และการเสวยอารมณ์ต่างๆ(เวทนา) ว่าเป็นไปตามไตรลักษณ์  ดังนั้นเมื่อไปอยากด้วยตัณหาจึงย่อมเกิดการยึดด้วยอุปาทานเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง  ดังนั้นเมื่อไปอยากหรือไปยึดไว้ด้วยเหตุผลกลใดก็ดี  เมื่อมีการแปรปรวนด้วยอนิจจังหรือดับไปด้วยทุกขังเพราะสภาวธรรมจึงไม่เป็นไปตามปรารถนาจึงเป็นทุกข์อุปาทานอันเร่าร้อนเผาลนขึ้นนั่นเอง



        ในทางปฏิบัติของการ เห็นจิตในจิต คือสติเห็นจิตสังขาร(เช่นความคิด)ที่เกิดขึ้นว่า สักแต่ว่าจิตสังขารตามที่พิจารณาอยู่เนืองๆ แล้วอุเบกขาไม่เอนเอียงไปแทรกแซงด้วยถ้อยคิดปรุงแต่ง หรือกริยาจิตใดๆ ดังการคิดเรื่อยเปื่อยหรือฟุ้งซ่านจึงย่อมยังให้เกิดเวทนาอื่นๆที่อาจเป็นปัจจัยจึงมีตัณหาเกิดขึ้น จึงทําให้เกิดทุกข์อุปาทานอันเร่าร้อน

                        (จิตตานุปัสสนานิเทส  แสดงความหมายของจิตภายใน ที่มิได้หมายถึงจิตส่งใน  และจิตภายนอก)


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.nkgen.com/13.htm
( อ่านต่อข้างล่างน่ะครับ )
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2009, 09:20:17 PM »

๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน

                     สติกําหนดพิจารณาธรรม(สิ่งต่างๆ)ที่บังเกิดแก่ใจเป็นอารมณ์ทั้งที่เป็นกุศลหรืออกุศล ก็เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติและเครื่องระลึกรู้เพื่อให้เกิดปัญญาเป็นสำคัญหรือเป็นวัตถุประสงค์  ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแนะในมหาสติปัฏฐานสูตรให้พิจารณา เป็นอาทิ เช่น

        ๔.๑  นิวรณ์ ๕ เช่น ข้อพยาบาทให้พิจารณาว่า

                มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า มีอยู่ ณ ภายในจิต

                ไม่มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต

                ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

                ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

                ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

                เป็นเช่นนี้ทุกข้อใน กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา

         ๔.๒ อุปาทานขันธ์๕

         ๔.๓ อายตนะภายใน และนอก

         ๔.๔ โพชฌงค์ ๗

         ๔.๕ อริยสัจ ๔ และมรรคองค์ ๘

        การพิจารณาธรรมต่างๆเหล่านี้ในจิต เป็นธัมมวิจยะ(การพิจารณาธรรม)เพื่อเป็นเครื่องรู้, ระลึกเตือนสติเป็น แนวทาง ให้เกิดปัญญาไม่ไปยึดมั่นถือมั่นเช่นกัน เพราะธรรมทั้งหลายเหล่านี้จัดเป็นสังขารในไตรลักษณ์ คือเกิดแต่เหตุปัจจัยเช่นกัน เมื่อเหตุปัจจัยของสังขารธรรมเหล่านี้แปรปรวนหรือดับ สังขารธรรมนี้ก็เช่นกัน  อีกทั้งเมื่อเรารู้ระลึกธรรมทั้งหลายก็เกิดขึ้น เมื่อเราหยุดรู้ระลึกธรรมทั้งหลายก็ดับลงเช่นกัน เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ แม้จักเป็นจริงตามธรรมชาติเช่นนี้ตลอดกาล แต่เหตุปัจจัยได้แปรปรวนและดับเสียแล้วเช่นกัน

        ในทางปฏิบัติของ เห็นธรรมในธรรม คือเห็นธรรมหรือสิ่งทั้งหลายที่บังเกิดแก่จิต หรือมีสติเห็นธรรมว่า สักแต่ว่าธรรม เป็นเครื่องเตือนสติ และระลึกรู้เพื่อให้เกิดปัญญาญาณนั่นเอง คือมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทุกข์และการดับไปของทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง

 

        สติปัฏฐาน๔ นั้นมีจุดประสงค์อยู่ที่ฝึกสติ และ ใช้สติพิจารณาสรุปให้เข้าใจโดยถ่องแท้เพื่อให้เกิดสัมมาญาณ(ปัญญาญาณ)ว่า ธรรมทั้งหลายอันมี กาย เวทนา จิต ธรรม มีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้ อาศัยระลึกเตือนสติเตือนใจไม่ให้ไปยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจ(หมายถึงอุปาทาน) ใดๆในโลก อีกทั้งมีพุทธประสงค์ให้ปฏิบัติในชีวิตประจําวันขนาดกล่าวได้ว่าแทบทุกลม หายใจ กล่าวคือเมื่อจิตหรือสติวนเวียนพิจารณาอยู่ในธรรมแล้ว จิตย่อมหยุดส่งจิตออกนอกไปนึกคิดปรุงแต่งต่างๆอันก่อให้เกิดทุกข์ ขณะจิตนั้นเองจิตย่อมเกิดกําลังแห่งจิตขึ้นเนื่องจากสภาวะปลอดทุกข์ขึ้นทีละ เล็กทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว อันยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมนั้นทีละเล็กทีละน้อยสะสมขึ้นเช่นกัน จนในที่สุดจักเกิดสภาวะ อ๋อ มันเป็นเช่นนั้นเอง หรือธรรมสามัคคีนั่นเอง เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมนั้นอย่างแท้จริง

        ]สติ ปัฏฐาน๔ มีเจตนาต้องการให้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ ไม่ใช่แต่ กาย เวทนา จิต ธรรม เท่านั้น เพียงแต่ธรรม ๔ ข้อนี้เป็นหลักสําคัญในการดับหรือลดละตัณหาและความยึดมั่นถือมั่นในความพึง พอใจของตนหรืออุปาทาน อันก่อให้เกิด "อุปาทานขันธ์ ๕"อันเป็นทุกข�
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.nkgen.com/13.htm
( อ่านต่อข้างล่างน่ะครับ )
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2009, 09:21:15 PM »



        สติปัฏฐาน๔ นี้เป็นการฝึกสติ และใช้สติ เราสามารถปฏิบัติได้ในทุกขณะและอริยาบถ โดยไม่จําเป็นต้องปฏิบัติแบบการนั่งสมาธิเต็มรูปแบบ สามารถทําได้ในขณะจิตตื่นสบายๆไม่เครียดหรือหงุดหงิด ก็นํามาคิด ตริตรอง ใช้ปัญญาพิจารณา สังเกตุเห็นเวทนาหรือจิตได้ในทุกอิริยาบถ ซึ่งวิปัสสนาใช้สมาธิระดับขณิกกะสมาธิ(แค่ไม่วอกแวก,อยู่กับกิจหรืองานที่ ทํา) หรือเกือบเป็นอุปจารสมาธิเท่านั้นเช่น เมื่อพิจารณาจนเกิดปัญญาหรือเข้าใจในเวทนาหรือจิตจริงๆ เราจะเข้าใจในธรรมนั้นๆ เช่นเวทนานุปัสสนา โดยจะไม่ไปยึดมั่นพึงพอใจในเวทนามากเหมือนในอดีตอีก เนื่องจากรู้ว่าเป็นกระบวนการทางธรรม(ชาติ)ไม่สามารถไปหยุดไปห้ามได้และเป็น ไตรลักษณ์ เหมือนกับห้ามหายใจไม่ได้ฉันใดก็ห้ามเวทนาไม่ได้ฉันนั้น และไม่ใช่ความทุกข์ตัวจริง

        ดับ ความยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน)ได้ก็คือดับอุปาทานในปฏิจจสมุปบาทได้ ผลก็คือไม่มีความทุกข์อันเกิดจาก "อุปาทานขันธ์๕ "ซึ่งเป็นไปตามกฏอิทัปปัจจยตา เมื่อสิ่งนี้ดับ ผลนี้ก็ดับดังบทสรุปในมหาสติปฏิปัฏฐาน ๔ทุกบท ของกาย, เวทนา, จิต, ธรรม ตลอดจนบทย่อยทุกๆบท แสดงถึงพุทธประสงค์ของพระพุทธองค์ ในการปฏิบัติไว้เด่นชัด รวมถึง ๒๑ ครั้ง คือ ดั่งนี้

     ย่อมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ภายในบ้าง(เปลี่ยนเวทนาเป็น กาย จิต ธรรม และบทย่อยๆ)

            พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ภายนอกบ้าง

            พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง

            พิจารณาเห็น ธรรมคือ ความเกิดในเวทนาบ้าง(เห็นธรรมคือเห็นธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ)

            พิจารณาเห็น ธรรมคือ ความเสื่อมในเวทนาบ้าง(ดับไป)

            พิจารณาเห็น ธรรมคือ ทั้งความเกิด ทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง ย่อมมีอยู่

            อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้, เครื่องรู้

            เพียงสักแต่ว่า เป็นที่อาศัยระลึกเท่านั้น(หมายถึงอาศัยเป็นเครื่องรู้ระลึกและพิจารณาเป็นเครื่องเตือนสติและก่อปัญญา)

            เธอเป็นผู้ซึ่งตัณหาและทิฐิ ไม่ติดอยู่ด้วย และไม่ยึดถือ(หมายถึงไม่ยึดติด,ไม่ยึดมั่นถือมั่นคือเป็นอุปาทาน) อะไรๆในโลกด้วย อย่างนี้แล ชื่อว่าพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่

(เป็นเช่นนี้ในตอนท้ายของ กาย เวทนา จิต ธรรม และบทย่อยๆทั้งหลาย เน้นย้ำเหมือนกันทุกประการถึง ๒๑ ครั้ง)

        เวทนา ในเวทนา หมายถึง เข้าใจในเวทนาจริงๆอย่างถูกต้อง เห็นเวทนาตามความเป็นจริงไม่ถูกครอบงําโดยกิเลส หรือทิฎฐุปาทาน(ยึดมั่นในความเชื่อของตนเองอย่างผิดๆ) เห็นว่าสักแต่เพียงกระบวนการทางธรรม(ชาติ)เป็นปกติอย่างนี้ตลอดกาล เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่ไปยึดมั่นหรือถือมั่นให้เป็นอุปาทานในเวทนาหรือการเสพรสความรู้สึกรับรู้ในอารมณ์ที่บังเกิดขึ้นนั้น

        เวทนาภายใน หมายถึงเวทนาของตนเอง

        เวทนาภายนอกหมายถึงเวทนาของบุคคลอื่น

        ตลอดจนในบทสรุปของ "มหาสติปัฏฐานสูตร"อันต่อจากบทธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้ชัดแจ้งเช่นกันถึงการบรรลุพระอรหัตตผล กล่าวคือถ้ายังมีอุปาทิ(สภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น)อันคืออุปาทานยังไม่สิ้นหมด ยังคงมีเหลืออยู่บ้างก็จักได้เป็นพระอนาคามี ดังความในพระสูตรต่อไปนี้

                ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้

                อย่างนั้น ตลอดเนืองๆ ๗ ปี

                ผู้นั้นพึงหวังผล ๒ ประการ อันใดอันหนึ่ง

                คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑

                หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ จักเป็นพระอนาคามี ๑

                ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปียกไว้ .......................

(เหมือน เดิมทุกประการ เพียงเปลี่ยนเป็น ๖ ปี, ๕ ปี, ๔ปี.....๑ ปี, ๗ เดือน, ๖ เดือน...๑ เดือน, กึ่งเดือน, และสุดท้ายที่๗ วัน เป็นเช่นเดียวกันทุกประการ ถึง ๑๖ ครั้ง)

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.nkgen.com/13.htm
( อ่านต่อข้างล่างน่ะครับ )
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
teenggg1
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 19


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2010, 11:33:26 AM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

the suffering
Global Moderator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 9
กระทู้: 859


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 12:17:09 AM »

จิต อัตโนมัติ ที่รู้  ไตรลักษณ์
ไม่ได้จงใจรู้
ใช่หรือเปล่า
................โห  ยากมากนะเนียะ กว่าจะถึงจุดนั้น ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #8 เมื่อ: มิถุนายน 19, 2012, 10:01:20 AM »

จิต อัตโนมัติ ที่รู้  ไตรลักษณ์
ไม่ได้จงใจรู้
ใช่หรือเปล่า
................โห  ยากมากนะเนียะ กว่าจะถึงจุดนั้น ยิงฟันยิ้ม



ดีครับท่าน suffering ผมว่าถ้าปฏิบัติลงศีล สมาธิ แล้วจิตผู้รู้จะค่อยๆ เกิดขึ้นเองนะครับ
เมื่อมีจิตผู้รู้ ก็จะค่อยๆ บ่มเพาะพระปัญญา เพื่อเรียนรู้กฏของพระไตรลักษณ์ ไปเรื่อยๆ เรียนรู้เข้าไปจนเกิดเป็นสัมมาทิฏฐิ ขึ้น
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: