บทสวดภาษาบาลียถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ
เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ
อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุมฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ
สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา จนฺโท ปณฺณรโส ยถา มณิ โชติรโส ยถา
สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว
สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว
สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว
อภิวาทนสีลีสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ
ความหมาย บทที่เริ่มต้นว่า “ยถา” มีชื่อเรียกว่า บทอนุโมทนารัมภคาถา หมายถึง คาถาที่เริ่มก่อนการอนุโมทนา กล่าวคือ ก่อน ที่พระสงฆ์จะอนุโมทนาในบุญกุศลที่อุบาสกอุบาสิกาได้ทำแล้ว พระสงฆ์จะกล่าวบทอนุโมทนารัมภคาถานี้ เพื่อให้อุบาสกอุบาสิกาได้เตรียมตัวตั้งใจรับพรสืบไป บทนี้เป็นภาษาบาลี ดังนี้
ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุมฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา จนฺโท ปณฺณรโส ยถา มณิ โชติรโส ยถา
มี คำแปลว่า “ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ฉันใด ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วแต่โลกนี้ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว ฉันนั้น ขออิฐผลที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว จงสำเร็จโดยฉับพลัน ขอความดำริทั้งปวงจงบริบูรณ์ เหมือนดังพระจันทร์วันเพ็ญ (และ) เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสว”
ส่วนบทที่เริ่มต้นว่า “สัพพี” มีชื่อเรียกว่า บทสามัญญานุโมทนาคาถา หมายถึง คาถาที่พระสงฆ์ใช้สวดทุกครั้งที่อนุโมทนาในบุญกุศลที่อุบาสกอุบาสิกาได้ทำ แล้ว บทนี้เป็นภาษาบาลี ดังนี้
สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ
มี คำแปลว่า “ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป โรคทั้งปวงจงหายไป อันตรายอย่ามีแก่ท่าน ขอท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีการอภิวาทเป็นปรกติ อ่อนน้อมต่อผู้เจริญเป็นนิตย์”.
ซึ่งบทสวดนี้มักเรียกกันตามความหมายของคำอวยพรและผู้ที่จะรับพรนั้นว่า "ยถาให้ผี-สัพพีให้คน"
ปัญหาเรื่องสถานที่สวดของภิกษุปัญหาเกิดมาจากหลังจากตักบาตรเสร็จพระภิกษุมักสวดอนุโมทนารมภคาถาและ สามัญญานุโมทนาคาถาหรือยถา-สัพพี ให้พรที่ข้างถนน ซึ่งมีผู้ที่แสดงความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมในเรื่องดังกล่าว อยู่สองฝ่ายด้วยกันคือ
ฝ่ายหนึ่งมองว่า การออก บิณฑบาตร เป็นการออกกำลังกายด้วยความมีสติ เท่ากับเดินจงกรมของพระ และโปรดเวไนยสัตว์ ตลอดจนภูตผี สัมภเวสีเร่ร่อน เทพ เทวา ไปด้วยการแผ่เมตตาไปตลอดทางทั้งขาไป-ขากลับ พระจะ สวดยะถาสัพพี-ให้พรแก่คนตักบาตรทำบุญและผีทั้งหลาย เมื่อฉันอาหารเสร็จแล้วที่วัด ภูติผี วิญญาณเร่ร่อน เปรต ก็มารอขอส่วนบุญกันตอนนั้นเอง จึงไม่ควรสวดข้างถนน
อีกฝ่ายมองว่า เป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนายินดีด้วย การบิณฑบาตรตอนเช้าไม่ใช่เพียงแค่คนที่นำอาหารมาใส่บาตรที่จะได้รับอานิสงส์ ผลบุญ แต่ถือเป็นการโปรดสัตว์ด้วย
ในต่างจังหวัด เช่นแถวภาคอิสาณหรือภาคเหนือ เช้าตรู่พระท่านเข้าแถวออกบิณฑบาตร ผู้คนจะนั่งคุกเข่า ค่อยๆบรรจงหยิบอาหารหรือข้าว ใส่ลงในบาตร เป็นภาพที่สวยงามมาก พอพระท่านรับเสร็จ ท่านก็จะให้พร แต่สิ่งที่สำคัญเราจะลืมไม่ได้ คือ อย่าอยู่สูงกว่าพระ เช่นสวมรองเท้าใส่บาตร หรือบางทีก็ถอด แต่ทว่า ยืนบนรองเท้า แบบนี้จึงจะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เป็นการไม่เคารพพระ บางแห่งพระท่านจะเมตตามากกว่านั้นอีก คือ เมื่อรับบาตรเสร็จ ท่านจะนั่งในที่เหมาะสม เช่นศาลาพักริมถนน ญาติโยมก็จะนั่งประนมมือฟังเทศน์อบรมธรรมะจากท่าน ก่อนที่ท่านจะกลับวัด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%B5