KAMMATAN.COM BOARD พุทธกรรมฐาน สติปัฏฐาน4 ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา แจกCDธรรมะ พาเที่ยววัด กรุณา Login เพื่อมองเห็นกระทู้ เพิ่มขึ้น ครับภาวนา เจริญสติ และ ปัญญา กับแนวปฏิบัติภาวนาตามหลัก สติปัฏฐาน 4ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ ที่พุทธศาสนิกชนควรทราบ เพื่อเข้าใจในสัมมาทิฏฐิอนัตตาที่แปลว่า ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นตัวตนแท้จริงแล้วหมายความว่าอย่างไร
หน้า: [1]
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อนัตตาที่แปลว่า ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นตัวตนแท้จริงแล้วหมายความว่าอย่างไร  (อ่าน 20349 ครั้ง)
koh2001
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 15


ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2010, 05:37:05 PM »

อนัตตาที่แปลว่า ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน ไม่เป็นตัวตนแท้จริงแล้วหมายความว่าอย่างไร
บันทึกการเข้า
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2010, 06:07:13 PM »

ในส่วนนี้ เป็นธรรมะ ที่ต้องอาศัยการปฏิบัติเจริญสติปัฏฐาน นะครับถึงจะเห็นได้
ในส่วนของกระผมเอง ก็เป็นเพียงผู้เดินทางอยู่เช่นกันนะครับ

ตามที่ผมเข้าใจ ถ้าได้ปฏิบัติเจริญสติตามหลักของที่ พระพุทธเจ้า ได้สั่งสอนไว้ จะเห็นว่าจิตของเรานั้น
ทำหน้าที่ คิด นึก ปรุง แต่งไปตามอารมณ์ที่เข้ามากระทบ และเมื่อสังเกตลงไปอีกจะเห็นว่า สภาวะ ที่จิต คิด นึก ปรุง แต่ง ไปนั้น
เกิดขึ้นมาเอง ตั้งอยู่สักพัก แล้วก็ดับไป ซึ่งเราไม่ได้ไปบังคับให้มันเกิดขึ้นเลย

ยกตัวอย่าง

เราไปเจอเพื่อนคนที่เราไม่ค่อยชอบหน้า เท่าไร เขาเข้ามาหาเรื่องเรา แล้วทำให้เราเกิดอารมณ์โมโห ลองสังเกตดูว่าอารมณ์โมโห เกิดขึ้นเอง ซึ่งเราบังคับให้มันไม่เกิด ไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว ก็กลายเป็นตัวเราโกธร แทนที่จะเห็นแค่สภาวะโกธร มันเกิดขึ้นมา แล้วดับไป แต่ใจเรามันไม่ยอม ก็ไปปรุงแต่งต่อ บางครั้งอยากดิ้นรนตอบโต้ ไปด้วยกาย หรือ วาจา ก็ตามล้วนทำตามด้วยอำนาจของกิเลส และตัณหา ทั้งสิ้น

แต่ถ้าเราฝึกการเจริญสติปัฏฐาน มา มันจะแค่เห็นว่า สภาวะโกธร ไม่ชอบขี้หน้า เกิดขึ้นมาเอง ถ้ามีปัญญามากขึ้น ก็จะเห็นแค่สภาวะโกธร แต่ไม่เข้าไปปรุงแต่งต่อ และก็รู้ต่อไปว่า มันเกิดขึ้นมาได้เอง แล้วก็ย่อมดับไปได้เอง ตามหลักของพระไตรลักษณ์ ถ้าปัญญากล้าขึ้น ก็จะเห็นทุกอย่างเป็นเพียงสภาวะ ที่เข้ามาแล้วผ่านไป หาความเป็นตัวตนของเรานั้น ไม่มีเลย ซึ่งตัวเราก็เป็นเพียงธาตุ 4 ดิน น้ำลมไฟ ที่อาศัยประกอบเป็น กายมนุษย์นี่เอง เมื่อถึงคราวแตกดับก็สลายไป กลับกลายเป็นเศษเสี้ยวหนึ่งของ ธรรมชาติต่อไป วบเวียนอยู่ในวัฏฏะ ซึ่งหาความเป็นเรานั้น จะมีอยู่ที่ไหน ขนาดร่างกายยังบังคับให้หนุ่ม ให้สาวตลอดไม่ได้เลย แล้วสิ่งๆ อื่นจะเป็นของเราได้อย่างไร

หวังว่า น่าจะได้รับความกระจ่างนะครับ
ผมก็ยังเป็นเพียงผู้เดินทาง อยู่เช่นกัน
กอล์ฟ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
kobnokkala
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 1
กระทู้: 10


เดินด้วยจิตรู้ จะเป็นผู้ไร้ทุกข์


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2010, 02:38:42 PM »

อนัตตาแปลว่าไม่ใช่ตัวตน ไม่ได้แปลว่า ไม่มีตัวตน

                

          โดย ไชยทรง จันทรอารีย์

         ผลของการสอนผิดๆว่าไม่มีตัวตน
เช่น บอกว่า ไม่มีสัตว์-บุคคล-ตัวตน-เรา-เขา
มรรค ๘ นั้นก็สักแต่ว่าเป็นทางเดิน แต่ไม่มีผู้เดิน
ส่วนนิพพานนั้นก็สักแต่ว่าเป็นนิพพาน แต่ผู้ถึงนิพพานไม่มี
จึงทำให้เข้าใจเลยออกไปได้ว่า
มีแต่การตีกันหัวแตกเท่านั้น แต่ผู้ตีไม่มี ดังนี้เป็นต้น.

         พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสกับพระอานนท์ซึ่งเป็นพระอริยะชั้นโสดาบันว่าดังนี้

ตสฺมา ตีหานนฺท อตฺตทีปา วิหรถ อตฺตสรณา อนญฺญสรณา

แปลว่า

ด้วยเหตุนี้แหละอานนท์ เธอจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง

         ทั้งนี้แสดงว่า พระองค์ทรงสอนเรื่องตัวตน
ถ้าไม่มีตัวตนจริงๆดังที่สอนกันอยู่ในปัจจุบันนี้แล้ว
พระองค์ย่อมนำมาตรัสสอนพระอานนท์ไม่ได้เลย

         พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธรูปนาม (อารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์)
ว่าไม่ใช่ตัวตนไม่ควรยึดถือสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นอัตตาตัวตนที่เที่ยงแท้ถาวร

         ถ้าหากปล่อยวางเสียได้ จิตก็จะบรรลุเข้าสู่สภาพธรรมที่ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ
เป็นที่พึ่งอันเที่ยงแท้ถาวรอย่างแท้จริง

         มีพระบาลีในปัณฑิตวัคคแห่งพระธรรมบทกล่าวไว้ ดังนี้คือ

ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ จิตฺตกฺกิเลเสหิ ปณฺฑิโต

แปลว่า

บัณฑิตพึงชำระตนคือจิต ให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส

แสดงว่า

         จิตที่บริสุทธิ์นี้ คือ ตน
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกมาสอนพระอานนท์ดังกล่าวแล้วข้างต้นนี้


         ดังนั้นคำสอนที่ว่า ไม่มีตัวตน จึงย่อมขัดแย้งกับพุทธพจน์ข้อนี้อย่างไม่มีปัญหา

         ความจริงนั้นคำสอนเรื่องไม่มีตัวตน
เป็นคำสอนของปริพาชกจำพวกนัตถิกทิฐิ,ซึ่งอยู่นอกศาสนาพุทธนี้
ที่ทำให้ผู้ฟังธรรมะเข้าใจผิดว่าตายแล้วก็พินาศดับสูญหมด
ไม่มีตัวตนที่จะรับผลของกรรมดี กรรมชั่ว

ดังนั้น ผู้ที่เข้าใจว่าไม่มีตัวตนจึงปฏิเสธความเวียนว่ายตายเกิด
และไม่เชื่อว่ามีชีวิตในปรโลก คือ มีทิฐิว่าตายแล้วสูญ

          เมื่อมีทิฐิเกิดขึ้นเช่นนี้แก่ผู้ใด ผู้นั้นก็ย่อมไม่ละอายและไม่เกรงกลัวต่อผลบาปกรรม
จึงมักพากันทำงานและใช้ชีวิตโดยไม่คำนึงถึงศีลธรรมคิดแต่จะกอบโกยผลประโยชน์แบบ
มือใครยาวสาวได้สาวเอาใครจะประสบความเดือดร้อนยุ่งยากก็ช่าง

         สังคมทั้งหลายก็ย่อมประสบปัญหายุ่งยากร่วมกัน ถ้าปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม
ไม่ช่วยกันคิดแก้ไขปัญหายุ่งยากดังกล่าวนี้ เพราะถือว่าธุระไม่ใช่ของตัว สังคมก็ยิ่งยุ่งยากจมลึกลงไปอีก.

         ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าคำสอนที่แปลคำ

         “อนัตตา” ผิดว่า“ไม่มีตัวตน”นี้

         จึงมีพิษมีภัยแก่ความสงบสุขของสังคมนี้ฝ่ายเดียว
ถ้าไม่ศึกษาให้ดีก็จะไม่เห็นว่ามีพิษมีภัยอะไร.

สรุปความให้ชัดที่สุดแล้ว ตัวตนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำมาสอนก็คือ
จิตที่ได้ชำระให้บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสแล้ว

         ถ้ายังไม่ได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์ เนื่องจากถูกอารมณ์ปรุงแต่งอยู่
จิตนั้นก็ยังไม่ใช่สภาพเดิมของตัวตน และเป็นทุกข์ตลอดไป
หมายความว่า จิตสังขารไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง.


        

         คัดลอกจากหนังสือธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ โดย อ.ไชยทรง จันทรอารีย์

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nulek&month=03-08-2008&group=10&gblog=3

         นำมาเสนอพวกเรา ให้พิจารณากันว่า อนัตตา คือ อะไร กันแน่

                   
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 21, 2010, 03:07:23 PM โดย kobnokkala » บันทึกการเข้า

เธอจงระวังความคิดของเธอเพราะความคิดของเธอจะกลายเป็นความประพฤติของเธอ จงระวังความประพฤติของเธอเพราะความประพฤติของเธอจะกลายเป็นความเคยชินของเธอ จงระวังความเคยชินของเธอเพราะความเคยชินของเธอจะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอเธอ จงระวังอุปนิสัยของเธอเพราะอุปนิสัยของเธอจะกำหนดชะตาชีวิตของเธอชั่วชีวิต....หลวงพ่อชา
golfreeze
ขอนอบน้อมในธรรมของ องค์พระพุทธเจ้า
Administrator
สุดยอดกัลยาณมิตร
*****

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 67
กระทู้: 3605


golfreeze@packetlove.com
ดูรายละเอียด เว็บไซต์ อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2010, 04:03:24 PM »

ขอบคุณ สำหรับธรรมะดีๆ นะครับ คุณ kobnokkala    ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นมนุษย์ทั้งที อย่าให้ย้ำอยู่ที่เดิม หาทางปฏิบัติเจริญปัญญา เพื่อเดินไปข้างหน้า เพื่อบรมสุขตามรอยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เที่ยวอุบล | ขายโรงงานสมุทรสาคร
saferles
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 13


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: มีนาคม 14, 2010, 02:50:43 PM »

ถ้าผมเข้าใจ "อนัตตา" ว่าคือ  ว่างเปล่าได้ไหมครับ จะผิดคำสอนไหม?
ตามที่ผมเข้าใจ ผมเข้าใจแบบนี้นะ ซึ่งผมก็ยังเป็นนักปฏิบัติอยู่นะครับ ไม่รู้ถูกหรือเปล่านะ รอไปบวชถามพระอาจารย์อยู่

"อนัตตา" ที่ผมเข้าใจ กระผมเริ่มพิจารณาจาก "อริยสัจ4" คือ
ทุกข์ = ความทุกข์ทั้งมวล หรือ ผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำที่ทำให้เราทุกใจหรือทุกข์กาย
สมุทัย = พิจารณาหาสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
นิโรธ = สภาวะหมดทุกข์ หรือ ความดับทุกข์
มรรค = หนทางแห่งการดับทุกข์ มี 8 ข้อ

ทำอย่างไรจึงหมดทุกข์? คือแจ้งนิโรธ พิจารณาได้ว่า ทุกอย่างล้วนเกิดเป็นคู่ๆ มีดีมีชั่ว มีขาวมีดำ มีหญิงมีชาย มีสุขก็มีทุกข์

พระสงฆ์ท่านกล่าวไว้ว่า "คนเราจะเข้าใจ ทุกข์ ก็เมื่อยามเรา ประสบทุกขังกับตัว"
พระคถาคต ท่านตรัสไว้ว่า "ความไม่รู้ทุกขัง นี่แหละคือ อวิชชา เป็นปัจจัย ให้เกิดสังขาร"
ดังนั้นต้องพิจารณาว่า  มีสุข ต้องอย่างลืมนะว่าจะได้ มีทุกข์ เพราะมันเกิดเป็นคู่ๆ (อวิชชาอีกแล้วไม่รู้สุข ดูทุกข์ลืมดูสุขซะงั้น)

ทำอย่างไรจึงรู้ทุกข์ละ?  ก็ความสุขทางโลกไงละ! คือตัวทำให้เกิดทุกข์ สุขกายสบายใจแปปเดียวเดี๋ยวก็ทุกอีกแล้ว (ก็กิเลสตัณหาไง)
การปล่อยตัวไปตามกิเลส (ใจอยาก) นี่คือทุกข์ เพราะ อวิชชาเป็นเหตุ
ถ้าเรารู้ ทุกข์ ซะ สมุทัยก็ดับ นิโรธก็แจ้งแล้ว มรรคก็เกิดเลย ทุกอย่างอัตโนมัติ (<=อันนี้พิจารณาเองเลยนะครับ)

เพราะฉะนั้นสรุปว่า ทุกข์ = สุขทางโลก ความสุขมันไม่แท้ ไม่ใช่ของจริง ของปลอมของเก๊ มันไม่เที่ยง นี่ไงเห็น "อนิจจัง" แล้ว
อนิจจัง = เห็นแล้วจากการปฎิบัติในชีวิตประจำวัน
ทุกขัง = เห็นแล้วจากการประสบโดนกะตัว
อนัตตา = ยังมองไม่เห็น เพราะอะไรมองไม่เห็น อวิชชาหรือ? อวิชชาแน่ๆเลย

คิดต่อซิ พุทธศาสนาสอนอะไร? ก็สอนให้เน้นปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจจริงๆ และ อ่านทฤษฎีเพื่อคลายความเห็นผิด

แล้วผมก็ไปสะดุดคำๆหนึ่งของพระสงฆ์
พระสงฆ์ท่านนั้นว่า "ก็รู้อยู่ว่า มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ จะไปจับจะไปยึดถือจะไปเอามันไว้ทำไม "
เท่านั้นแหละ เห็นอนัตตาแล้ว แต่ยังไม่รู้แจ้งแถลงไข เพราะพุทธศสนาสอนปฎิบัติจึงจะเรียกว่า เห็นจริงๆ  
(โง่นี่ตัวเรา 5555+ เขางอกตั้งนาน)

คำถาม?
ทำอย่างไรจึงจะเห็นอนัตตาจริงๆละ?  ก็ปฎิบัติตนตาม มรรค8 ไงละจึงจะพ้นทุกข์และสุข
ทำอย่างไรจึงจะเข้าถึง มรรค8 ได้จริงๆละ? ก็บวชไงเล่า เข้าถึงมรรค8 เลย
อะไรทำให้คิดว่าเป็นการบวชละ?  ก็มนุษย์ทั่วไปย่อมมีกิเลสตัณหาอุปาทาน ขนาดกายมันยังไม่เที่ยงเลย แล้วใจละมันจะเหลือเหรอท่าน
ไม่ต้องเอาอะไรมากแค่เอาของชอบมาวางตรงหน้า แปปเดียวเท่านั้นแหละ เดี๋ยวก็เสร็จเพราะ โมหะ
(ถ้าทำตามก็เสร็จเจ้าโมหะเรียบร้อย  ถ้าไม่ทำตามก็ทรมานใจทรามานกายอีกเป็นบาปนะ)

แล้วจะทำไงดีละ? ก็ทำแบบพอดีพอเพียงสิ มีสติกำหนดรู้เท่าทันปัจจุบันไง? ตามแบบฉบับนักปฎิบัติ
แล้วจะบวชทำไมฆาระวาสก็ทำได้นี่?  งั้นจะแน่ใจได้ยังไงละว่าซักวันจะไม่เขว เพราะ โมหะ

ลองพิจารณาการบวชเป็นพระสงฆ์ และ ข้อปฎิบัติของพระสงฆ์ดูสิ จะเห็นว่ามันช่างสอดคล้องต่อ มรรค8 ยิ่งนัก


การค้นคว้าและพิจารณาทั้งหมดนี้ ผมทำมา 3 เดือน โง่บรมเลยตัวเรา กว่าจะรู้ นี่ถ้าไม่มีคำสอนของพระพุทธเจ้า คงเป็นวัวโง่ทั้งชาติ แต่ก็ไม่รู้ว่าพิจารณาถูกหรือเปล่า ต้องถามพระอย่างเดียว ผมขอฝากไว้คิดตามแล้วกันครับ หรือใครรู้ตอบได้ก็ดีนะครับ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดนะครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 14, 2010, 03:28:30 PM โดย saferles » บันทึกการเข้า
kobnokkala
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 1
กระทู้: 10


เดินด้วยจิตรู้ จะเป็นผู้ไร้ทุกข์


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: มีนาคม 14, 2010, 03:54:15 PM »


ถ้าผมเข้าใจ "อนัตตา" ว่าคือ  ว่างเปล่าได้ไหมครับ จะผิดคำสอนไหม?

ตามที่ผมเข้าใจ ผมเข้าใจแบบนี้นะ ซึ่งผมก็ยังเป็นนักปฏิบัติอยู่นะครับ

ไม่รู้ถูกหรือเปล่านะ รอไปบวชถามพระอาจารย์อยู่

                                         saferles

....................................................

ถ้าตามที่อาจารย์ไชยทรง จันทรอารีย์ สอน

             ท่านสอนว่า

อนัตตา แปลว่า มี ตัวตน แต่ ไม่ใช่ ตัวตน

เป็นปัจจัย สืบต่อ กันจึง ไม่ใช่ตัวตน

แต่ปัจจัยที่พร้อมให้เกิด ทำให้มี ตัวตน


                      
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 14, 2010, 03:59:06 PM โดย kobnokkala » บันทึกการเข้า

เธอจงระวังความคิดของเธอเพราะความคิดของเธอจะกลายเป็นความประพฤติของเธอ จงระวังความประพฤติของเธอเพราะความประพฤติของเธอจะกลายเป็นความเคยชินของเธอ จงระวังความเคยชินของเธอเพราะความเคยชินของเธอจะกลายเป็นอุปนิสัยของเธอเธอ จงระวังอุปนิสัยของเธอเพราะอุปนิสัยของเธอจะกำหนดชะตาชีวิตของเธอชั่วชีวิต....หลวงพ่อชา
saferles
สมาชิกใหม่
*

ได้รับการอนุโมทนาบุญ : 0
กระทู้: 13


ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: มีนาคม 14, 2010, 04:23:26 PM »

แปลว่า จะมีก็พร้อมที่จะสมมุติ หรือ ไม่อยากมีก็คือไม่สมมุติ ใช่ไหม? สิ่งนั้นคือ ตัวตนที่ไม่มีตัวตน อัตตาในอนัตตา
นิพพานัง นั่นเอง เข้าใจแล้ว
            

ขอบคุณครับ ยิ้มกว้างๆ 5555+ เหลือแค่ปฏิบัติให้เข้าใจเท่านั้น ยากยิ่งจริงๆ
สาธุ ~
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 14, 2010, 04:50:15 PM โดย saferles » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
พิมพ์
กระโดดไป: