ประวัติของวัด เมื่อประมาณพ.ศ.๒๔๓๐ ตรงกับสมัยรัชกาลที่๖มีชาวบ้านเข้ามาจับจองที่ดินทำไร่นาบริเวณบ้านร่องขุ่น
ในปัจจุบันเพียงไม่กี่หลังคาเรือนโดยอาศัยลำน้ำสายเล็กๆ ที่ไหลลงสู่แม่น้ำแม่ลาวซึ่งมีลักษณะสีขุ่นเลี้ยงชัพ
ชาวบ้านจึงเรียกว่า''บ้านฮ่องขุ่น' หรือบ้านร่องขุ่น ในภาษากลางมาโดยตลอด
หลังขุนอุดมกิจ เกษมราษฎร์ นำครอบครัวเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านเพื่อขึ้น กว่า๕๐ หลังคาเรือน
ท่านจึงคิดสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นในหมู่บ้าน วัดร่องขุ่นถือกำเนิดครั้งแรก ณ ริมฝั่งแม่น้ำลาวทิศตะวันตกใกล้กับน้ำ
แม่มอญคณะศรัทธาสร้างศาลาและกุฎิเป็นเรือนไม้และได้อาราธนานิมนตพระทองสุข บาวิน จากวัดสันทรายน้อยเป็นเจ้าอาวาท
มาถึงสมัยคุณพ่อหมี แก้วเลื่อมใส ได้ย้ายวัดมาตั้งอยู่บริเวณหัวนาของ ท่านซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามถนนด้านทิศตะวันตกติดกับ
ลำน้ำร่องขุ่น ต่อมา กำนันทาดีวรัตน์ เห็นว่าวัดวาเริ่มคับแคบ เพราะ หมู่บ้านใหญ่ขึ้น จึงได้ย้ายวัดมาอยู่บนที่ดินในปัจจุบัน
โดยนางบัวแก้วภรรยาของกำนันยกที่ดินให้สร้างวัดจำนวน๔ ไร่เศษ เมื่อสร้างเสร็จได้นิมนต์พระดวงรจ อาภากโร
จากวัดมุงเมืองมาเป็นเจ้าอาวาสและต่อมาพระดวงรจ อาภากโร ได้ย้ายไปจำพรรษาวัดอื่น
ชาวบ้านได้ขออาราธนานิมนต์พระไสว ชาคโร มาเป็นเจ้าอาวาทเมื่อพ.ศ. ๒๔๙๙ ถึงปัจจุบัน
พระไสว ชาคโร ได้สร้างพระอุโบสถในปี พ.ศ๒๕๐๗และได้อาราธนา พระหินโบราณจากหมู่บ้านหนองสระ อ.แม่ใจ
มาเป็นพระประธานในอุโบสถ ปี๒๕๒๐ ได้รับวิสุงคสีมา ปี ๒๕๒๙ ได้บูรณซ่อมแซมกำแพงวัด ปี ๒๕๓๓ สร้างหอฉัน
และ ซุ้มประตูวัด ปี๒๕๓๗พระไสว ชาคโรได้รับแต่ง ตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูชาคริยานุยุต
ปี๒๕๓๔ คณะศรัทธาเห็นว่าวัดสร้างมา ๓๘ ปี อยู่ในสภาพทรุดโทรมเป็นที่อยู่ของค้างคาวฝูงใหญ่
ใช้ทำสังฆกรรมไม่ได้จึงคิดสร้างอุโบสถหลังใหม่วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๘
ได้ทำพิธีรื้อถอนอุโบสถ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๘ ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้าง
วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๙ ได้ลงมือก่อสร้างอุโบสถหลังปัจจุบันแต่เสร็จเพียงแค่ โครงสร้างเท่านั้น ปัจจัยของวัดเริ่มขาดแคลนเพราะอยู่ในภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตก
ในปี ๒๕๔๐ อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรผู้มีชื่อเสียงระดับชาติเป็นเลือดเนื้อของคนบ้านร่องขุ่นโดยกำเนิด
ปวารณาตน เข้ามาสานต่อถวายเป็นเป็นพุทธบูชา หวังให้เป็น"งานศิลป์เพื่อแผ่นดิน"ด้วยปัจจัยของท่านเอง
โดยพระครูชาคริยานุยุตและชาวบ้านไม่ต้องลำบากหาเงินมาสร้างวัด
อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ได้เข้ามาทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมตามปรารถนาของท่าน จนทำให้วัดร่องขุ่นสวยงามประทับใจผู้คนที่มาเยี่ยมชมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจากวัดร่องขุ่นที่ไม่มีใครรู้จักกลายเป็นวัดที่มีชื่อเสียงเป็นที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัดและประเทศชาติ
โครงการก่อสร้างวัดเมื่อเสร็จสมบูรณ์จะประกอบไปด้วยหมู่สถาปัตยกรรม ๙ หลังมี อุโบสถ หอพระธาตุ หอพระ
หอบรรยายธรรม หอวิปัสสนากุฏิพระซุ้มทางเข้าเขตพุทธราวาส หอศิลป์ ห้องสุขา
อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ได้ซื้อที่ดินทางทิศใต้ ๑ไร่ ๒๐๐ตารางวาคุณวันชัย วิชญชาคร จาก กทม.
ได้บริจาคที่ดินอีก ๕ไร่ ๓๐๐ตารางวารวมเป็น ๑๐ ไร่ ๑๐๐ ตารางวา
อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ได้ตั้งจิตอธิษฐานขอถวายตนรับใช้พุทธศาสนาเพื่อสร้างวัดร่องขุ่น
ตั้งแต่ท่านอายุ ๔๒ ปี (พ.ศ.๒๕๔๐) เป็นต้นไปจวบจนกว่าจะสิ้นลมณวัดแห่งนี้
ท่านสิ้นแล้วซึ่งความปรารถนาใดๆในวัตถุทางโลกท่านมุ่งอุทิศถวายตนเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และมวลมนุษยชาติอันเป็นที่รักของท่านด้วยความศรัทธาเชื่อหมั้น
ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก :
http://www.samakkhi.ac.th/web251/samakkhi/bonusatom/m2101521/pabjidtagumbangsoun.htm ขอบพระคุณรูปจาก kammatan.com และ
[email protected]